ลำไย ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดสระแก้ว โดยมีพื้นที่ปลูกทั้งหมด 15,041 ไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 2,612 กิโลกรัมต่อไร่ จะปลูกมากใน อำเภอคลองหาด วังสมบูรณ์ เขาฉกรรจ์และวังน้ำเย็น (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2560) พันธุ์ที่ปลูกคือ “พันธุ์อีดอ” เป็นลำไยพันธุ์เบา คือ ออกดอกและเก็บผลก่อนพันธุ์อื่น ผลมีขนาดปานกลาง มีเมล็ดเล็ก เนื้อมีรสหวานกรอบ ชาวสวนจึงนิยมปลูกมากที่สุด สามารถจำหน่ายได้ทั้งผลสดและแปรรูป (ลำไยกระป๋องและลำไยอบแห้ง) เจริญเติบโตดีโดยเฉพาะในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีน้ำพอเพียง และสามารถทนแล้งได้ดี
คุณบุญเรือง ชัยนา (ลุงเปี๊ยก) เกษตรกรผู้มีประสบการณ์ปลูกลำไยมานานกว่า 20 ปี ในพื้นที่ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว ลุงเปี๊ยกได้เล่าให้พวกเราฟังว่า การทำลำไยคุณภาพให้ได้ผิวสวยและเป็นที่ต้องการของตลาดนั้น จะต้องเริ่มดูแลต้นลำไยตั้งแต่หลังการตัดแต่งกิ่ง เมื่อตัดแต่งกิ่งเรียบร้อยแล้วต้องมีการบำรุงต้น โดยใช้เทคนิคใส่ปุ๋ยทางดินและพ่นปุ๋ยทางใบร่วมกัน ที่ลุงเปี๊ยกใช้อยู่เป็นประจำ คือ นูแทค ซุปเปอร์-เอ็น ร่วมกับ เกอมาร์ พลัส เพื่อฟื้นฟูสภาพต้นหลังเก็บเกี่ยว ทำให้ต้นลำไยที่ผ่านการให้ผลผลิตมาแล้วกลับมาแข็งแรง สมบูรณ์ พร้อมต่อการราดสารโพแทสเซียมคลอเรตเพื่อทำลำไยนอกฤดูต่อไปและในช่วงการบำรุงต้นนี้ สิ่งที่ต้องระวังอีกอย่างคือ การเข้าทำลายของราดำ ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะส่งผลต่อคุณภาพของลำไย
หลังจากราดสารโพแทสเซียมคลอเรต ต้นลำไยจะเริ่มสะสมอาหารเพื่อการออกดอก (ระยะเพสลาด) ซึ่งในระยะนี้จะมีการพ่นปุ๋ย นูแทค ซุปเปอร์-เค ร่วมกับ อามานี่ รวมทั้งพ่น ไดเทน เอ็นที เอ็ม-45 เพื่อป้องกันโรคราดำอีกด้วย
ในระยะก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 30 วัน เป็นช่วงทำคุณภาพลำไย ลุงเปี๊ยกจะพ่นปุ๋ย นูแทค ซุปเปอร์-เค เพื่อเพิ่มความหวาน เนื้อกรอบ น้ำไม่เยอะ รสชาติดี ร่วมกับ นูบา-สเปรย์ แคลเซียมโบรอน เพื่อลดการหลุดร่วงของผล อีกทั้งยังพ่น ไดเทน เอ็นที เอ็ม-45 เพื่อป้องกันกำจัดเชื้อราที่อาจจะยังคงหลงเหลือบนผล จะทำการพ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 10-15 วัน ส่วนการเก็บเกี่ยวผลผลิตนั้น ผู้รับซื้อจะมาจัดการเก็บเกี่ยวเอง
ลุงเปี๊ยกยังบอกอีกว่า การทำสวนลำไยให้ได้คุณภาพตามที่เราต้องการนั้น เราต้องดูแลเอาใจใส่ต้นลำไยของเราให้มากๆ ต้องหมั่นตรวจดูต้นลำไยว่ามีโรคหรือแมลงมารบกวนหรือไม่ ถ้ามีก็ต้องรีบกำจัดก่อนที่จะระบาดไปทั่วสวนลำไย สำหรับแมลงศัตรูพืชที่พบบ่อย คือ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย มวนลำไย และบุ้ง หากไม่รีบป้องกันจะส่งผลทำให้ผลผลิตเสียหายได้เช่นกัน
คุณนุชจรี ชัยนา (พี่แหม่ม) ลูกสาวของลุงเปี๊ยก ที่ได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์การปลูกลำไยมาจากคุณพ่อ พี่แหม่มได้ออกมาปลูกลำไยในพื้นที่ของตนเองมานานกว่า 5 ปีแล้ว ซึ่งได้นำวิธีการของคุณพ่อมาประยุกต์ใช้พร้อมทั้งได้นำความรู้ใหม่ๆ มาปรับใช้ในสวนของตนเอง
เมื่อไม่นานมานี้พี่แหม่มได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายของบริษัท โซตัสฯ ให้ลองใช้ ลีโอเทค เพื่อปรับปรุงดินให้ร่วนซุย และช่วยเพิ่มการแตกราก โดยพี่แหม่มจะใส่ ลีโอเทค พร้อมกับปุ๋ยทางดินสูตร 8-24-24 จำนวน 2 ครั้ง อัตราการใช้จะขึ้นอยู่กับขนาดทรงพุ่ม (เส้นผ่านศูนย์กลาง 3 เมตร ใช้อัตรา 20-30 กรัมต่อต้น และเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เมตร ใช้อัตรา 50-80 กรัมต่อต้น) หว่านลงดินให้กระจายทั่วทั้งบริเวณใต้ทรงพุ่ม เริ่มใส่ครั้งแรกหลังการตัดแต่งกิ่งเพื่อฟื้นฟูสภาพต้น และใส่อีกครั้งก่อนการราดสารโพแทสเซียมคลอเรต
พี่แหม่มบอกกับทางเราว่า หลังจากใช้ลีโอเทคแล้ว สังเกตว่าต้นลำไยที่ทรุดโทรมกลับมาสมบูรณ์ เขียวสดชื่น แข็งแรงได้อีกครั้ง และได้ลองขุดดูรากก็พบว่า ต้นลำไยที่ใส่ลีโอเทคมีการแตกรากได้ดี และเริ่มแทงช่อดอกเร็วกว่าต้นที่ไม่ได้ใช้ประมาณ 7 วัน พี่แหม่มมีความประทับใจในลีโอเทคมากเพราะใช้แล้วเห็นผลจริง
ในระยะติดผลอ่อนพี่แหม่มจะใช้ นูแทค ไฮ-เอ็น และ โฟแมกซ์ คัลเซียมโบรอน 400 ร่วมกับ เกอมาร์ เอ็กซ์แอล ซึ่งเป็นสูตรขยายขนาดผลลำไยของบริษัท โซตัสฯ เพื่อช่วยเพิ่มความหนาของเนื้อผล ทำให้ได้ผลใหญ่สม่ำเสมอ น้ำหนักผลดี และลดการหลุดร่วงของผลลำไย
ลุงเปี๊ยก และพี่แหม่ม มีความประทับใจในผลิตภัณฑ์ของ บริษัท โซตัสฯ เป็นอย่างมาก เนื่องจากใช้แล้วเห็นผลจริง ผลผลิตได้คุณภาพ ลุงเปี๊ยกฝากไว้ว่า สิ่งสำคัญของการปลูกพืช คือเราต้องเข้าใจพืชในแต่ละช่วงการเจริญเติบโต ต้องหมั่นตรวจดูสวน ดูแลเอาใจใส่ให้เหมือนลูก และควรรู้ว่าพืชต้องการอะไร แล้วเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและนำไปเติมเต็มสิ่งที่พืชขาด พืชก็จะตอบแทนเราด้วยผลผลิตตามที่เราต้องการ
ขอขอบคุณ
คุณบุญเรือง ชัยนา (ลุงเปี๊ยก)
คุณนุชจรี ชัยนา (พี่แหม่ม)
อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว