ทุเรียน ยังคงเป็นไม้ผลที่อยู่ในกระแส และมาแรงไม่มีแผ่ว ข้อสังเกตที่เห็นได้ชัดเจน คือ มีการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งประเทศ และคาดการณ์กันไว้ว่าจะมีผลผลิตเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 เมื่อพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นแน่นอนว่าผลผลิตก็ต้องเพิ่มขึ้น การแข่งขันก็จะต้องเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน สิ่งที่จะช่วยให้ผู้ซื้อตัดสินใจเลือกผลผลิตของเราคือ “คุณภาพ” ชาวสวนทุเรียนควรเน้นผลิตทุเรียนเพื่อให้ได้คุณภาพที่ดีมีมาตรฐานมากกว่าเน้นในเรื่องของปริมาณ เพื่อรองรับการแข่งขันในอนาคตทั้งในและนอกประเทศ
โซตัสนิวส์ฉบับนี้ขอเสนอเรื่องราวของ “สวนทุเรียนทรัพย์มหาศาล จ.จันทบุรี ของคุณประสาน ธรรมศร (ป๋าสาน)” ชาวสวนมืออาชีพผู้มีประสบการณ์การปลูกทุเรียนมากกว่า 35 ปี ที่ยังคงรักษาคุณภาพของทุเรียนได้อย่างสม่ำเสมอเป็นที่ต้องการของตลาดส่งออก ป๋าสานเล่าให้เราฟังว่า เริ่มทำสวนทุเรียนด้วยตัวเองมาตั้งแต่หนุ่มๆ ตอนนั้นเลือกปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองเพราะว่าเป็นพันธุ์ที่ขายได้ราคาดี ราคาไม่มีตก อีกทั้งยังมีรสชาติอร่อย หวานมันกำลังดี มีเนื้อค่อนข้างหนา และมีเมล็ดลีบเล็ก และยังเป็นที่ต้องการของตลาดส่งออก
สำหรับการเลือกพื้นที่ปลูกนั้น ที่สวนจะเลือกพื้นที่ที่เป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย เวลาฝนตกแล้วน้ำจะได้ไม่ท่วมขัง มีการระบายน้ำดี ปรับพื้นที่ปลูกให้เป็นแบบหลังเต่าเพื่อช่วยในการระบายน้ำ ก่อนปลูกถ้าไม่แน่ใจว่าในดินมีเชื้อโรคหรือไม่ แนะนำให้ฆ่าเชื้อในดิน เพื่อป้องกันปัญหาโรครากเน่าโคนเน่าจากเชื้อราไฟทอปธอร่า ที่เป็นปัญหาสำคัญของชาวสวนทุเรียนในทุกวันนี้
ป๋าสานได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับทางทีมงานว่า การทำทุเรียนคุณภาพนั้นมีหลายปัจจัยที่ต้องเอาใจใส่ โดยเฉพาะ “น้ำ” ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการทำสวนทุเรียน น้ำต้องเพียงพอต่อความต้องการของต้นทุเรียนตลอดทั้งปี เมื่อเข้าถึงช่วงหน้าแล้งแต่ละสวนจะพบปัญหาน้ำไม่เพียงพอ ที่สวนทุเรียนทรัพย์มหาศาลจะมีการขุดบ่อน้ำขนาดใหญ่ 2 บ่อ เพื่อเป็นแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง จึงไม่มีปัญหาการขาดแคลนน้ำใช้ภายในสวน การให้น้ำต้องดูสภาพของแต่ละพื้นที่ และตามสภาพภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝน ความชื้นสัมพัทธ์ แสงแดด และก็ต้องคอยระวังอย่าให้ทุเรียนขาดน้ำนานเกินไป
นอกจากน้ำแล้วยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน เช่น การจัดการโรคและแมลงศัตรูพืชภายในสวน การบำรุงและดูแลทุเรียนในระยะต่างๆ เป็นต้น ด้วยประสบการณ์กว่า 35 ปีที่ผ่านมา ป๋าสานจะเน้นการป้องกันมากกว่าที่จะต้องมาคอยแก้ไขปัญหา เช่น การป้องกันแมลง ที่สวนเลือกใช้ สตาร์เกิล จี โรยชิดโคนต้นทุเรียน ในช่วงฟื้นฟูสภาพต้น และระยะก่อนออกดอก เพื่อป้องกันแมลงปากดูดและหนอนด้วงหนวดยาวเจาะลำต้น ส่วนโรคที่ต้องระวังและพบมากคือโรครากเน่าโคนเน่า โรคนี้บางครั้งเชื้อจะลามขึ้นต้น กิ่ง ใบ และผลทุเรียน ทำให้ผลทุเรียนเน่า ไม่สามารถเก็บขายได้
การทำทุเรียนคุณภาพส่งออกให้ได้ ผลใหญ่ น้ำหนักดี
สำหรับการทำทุเรียนให้ได้คุณภาพ ผลใหญ่ น้ำหนักดี หลายคนอาจคิดว่าจะต้องบำรุงในช่วงที่ลูกโตแล้ว แต่สำหรับป๋าสานการจะทำให้ทุเรียนผลใหญ่ น้ำหนักดีนั้น จะต้องบำรุงตั้งแต่ทุเรียนเริ่มติดผลอ่อน (ผลขนาดเท่ากับนิ้วหัวแม่มือ) สูตรเด็ดที่ใช้ต่อเนื่องมายาวนานกว่าสิบปี คือ พ่นด้วย เกอมาร์ เอ็กซ์แอล อัตรา 200 ซีซีร่วมกับ โฟแมกซ์ คัลเซียมโบรอน 400 อัตรา 100 ซีซี และเพิ่มความสมบูรณ์ให้กับผลทุเรียนด้วยกรดอะมิโนทางด่วน “อามานี่” อัตรา 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร โดยจะพ่นทุกๆ 2 สัปดาห์
เมื่อเข้าสู่ระยะขยายขนาดผล (อายุ 40-45 วันหลังดอกบาน) จะพ่นปุ๋ย นูแทค ไฮ-เอ็น อัตรา 300 กรัม ร่วมกับ เกอมาร์ เอ็กซ์แอล อัตรา 200 ซีซี และ โฟแมกซ์ คัลเซียมโบรอน 400 อัตรา 100 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร เพื่อช่วยในการขยายขนาดผลทุเรียน ทำให้หนามเขียว ผลใหญ่สม่ำเสมอ และน้ำหนักดี จะพ่นจนถึงระยะก่อนเก็บเกี่ยว หลังจากนั้นเปลี่ยนมาใช้ชุดทำคุณภาพ คือพ่นด้วย นูแทค ซุปเปอร์-เค ร่วมกับ โฟแมกซ์ คัลเซียมโบรอน 400 และ โฟแมกซ์ แมงกานีส 500 เพื่อเร่งการเข้าสี และเพิ่มความหวาน และยังพ่น อามานี่ ร่วมด้วย เพื่อช่วยให้ต้นทุเรียนในสวนมีใบที่เขียวสดเมื่อเรามองไปแล้วก็ดูสดชื่นดี
อามานี่.... อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ในใจคุณประสาน
“ใช้ทุกครั้งที่มีการพ่นปุ๋ยทางใบ โดยเฉพาะช่วงหน้าแล้ง อามานี่ จะช่วยส่งเสริมการเปิดปากใบพืช ทำให้พืชสังเคราะห์แสงได้ดีขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการสร้างอาหารให้แก่พืช และช่วยให้ต้นทุเรียนทนต่อสภาวะที่ไม่เหมาะสมได้ดี”
สุดท้ายนี้... ป๋าสานได้ฝากบอกว่าปัญหาที่เกิดมาจากภัยธรรมชาติ เช่น ฝน ลม พายุ ฯลฯ ซึ่งเราควบคุมหรือบังคับมันไม่ได้ สามารถทำความเสียหายได้ในทุกระยะของต้นทุเรียน ดังนั้นต้องรู้จักหาวิธีรับมือและค่อยๆ ปรับไปตามสถานการณ์
ขอขอบคุณ คุณประสาน ธรรมศร เจ้าของสวนทุเรียนทรัพย์มหาศาล อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี
สนใจข้อมูล/ความรู้ ด้านการเกษตรสามารถเข้าไปดูได้ที่
![]() |
goo.gl/oezFiy หรือ พิมพ์ @sotus |
![]() |
www.facebook.com/sotus.int/ |
![]() |
https://www.youtube.com/channel/UCr0T_masJxA8_h5Y9xM5vdw |