โรคแอนแทรคโนสหรือโรคใบไหม้ โรคนี้เกิดได้กับกล้วยไม้ทุกสกุล และมักพบการเกิดการระบาดในฤดูฝน เกิดจากการทำลายของ เชื้อราคอลเลตโตตริคั่ม (Colletotrichum gloeosporioides)
แผลที่เกิดบนใบของกล้วยไม้เป็นแผลไหม้แห้งสีน้ำตาลหรือน้ำตาลดำ มักเกิดกับปลายใบหรือขอบใบ แล้วจึงลุกลามออกไป เมื่อเป็นโรคมากๆ หรือรุนแรง ใบจะไหม้แห้งทั้งใบ และมักพบว่าแผลมีลักษณะเป็นวงแหวนซ้อนกันหลายๆ วง และมีกลุ่มของเชื้อราเป็นสีดำเกิดขึ้นบนวงที่ซ้อนกัน เชื้อราสามารถเข้าทำลายที่ดอกในส่วนของปากดอกและเกสร ทำให้เกิดอาการดอกเน่าและเกสรเน่าเป็นสีดำ ซึ่งจะเรียกว่า โรคเกสรสีดำ
-
จัดการรังกล้วยไม้ให้สะอาดและเป็นระเบียบ อย่าวางต้นกล้วยไม้แน่นเกินไป
-
เก็บรวบรวมใบแก่ ใบเหลืองที่ร่วงหล่น และใบที่เป็นโรคฝังดินเพื่อทำลายเชื้อราสาเหตุของโรค
-
พ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา (โดยสลับชนิดกลุ่มสาร) 15 วัน/ครั้ง ในฤดูฝนอาจใช้ระยะห่างประมาณ 7-10 วัน/ครั้ง
-
หากพบการระบาด ควรใช้สารคาร์เบนดาซิม พ่น 2-3 ครั้งติดต่อกัน
เอกสารประกอบการเรียบเรียง
กุลฉวี กำจายภัย. 2526. โรคและแมลงศัตรูกล้วยไม้. หจก. ฟันนี่พับบลิชชิ่ง. 114 หน้า.
ธีระ สูตะบุตร. 2517. โรคของกล้วยไม้. วิทยาสารกล้วยไม้บางเขน. 375 หน้า.
พิสมัย ชวลิตวงษ์พร. 2538 . แมลงศัตรูไม้ดอกไม้ประดับของประเทศไทย.
อนงค์ จันทร์ศรีกุล. 2524. โรคและศัตรูไม้ประดับ. บริษัท สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด. 163 หน้า.
อำไพวรรณ ภราดร์นุวัฒน์. 2526. โรคของไม้ดอกไม้ประดับ. ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 126 หน้า.
อำไพวรรณ ภราดร์นุวัฒน์. 2540. โรคของกล้วยไม้. ใน สมศักดิ์ รักไพบูลย์สมบัติ. ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้จากประสบการณ์. สมาคมพฤกษชาติแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. 414 หน้า.
สนใจข้อมูล/ความรู้ ด้านการเกษตรสามารถเข้าไปดูได้ที่
![]() |
goo.gl/oezFiy หรือ พิมพ์ @sotus |
![]() |
www.facebook.com/sotus.int/ |
![]() |
https://www.youtube.com/channel/UCr0T_masJxA8_h5Y9xM5vdw |