แมลงวันดอกกล้วยไม้หรือไอ้ฮวบ เป็นหนอนของแมลงวันดอกไม้ ลำตัวหนอนมีสีเหลือง ลำตัวยาวประมาณ 0.8-3.0 มิลลิเมตร อาศัยอยู่ที่บริเวณเส้าเกสรโดยเฉพาะที่บริเวณใกล้กับยอด เกสรตัวเมีย มักระบาดในช่วงฤดูฝน หนอนจะเข้าทำลายดอกกล้วยไม้เฉพาะดอกตูมขนาดเล็ก ซึ่งกลีบดอกยังปิดหรือเริ่มแทงช่อดอก ทำให้ดอกตูมชะงักการเจริญเติบโต หงิกงอ บิดเบี้ยว และต่อมาจะมีอาการเน่าเหลืองฉ่ำน้ำ และหลุดร่วงจากช่อดอก ถ้าเข้าทำลายดอกตูมขนาดใหญ่ ทำให้ดอกตูมมี อาการบิดเบี้ยว บริเวณโคนดอกจะมีรอยเน่าช้ำสีน้ำตาลดำ บริเวณแผลที่ช้ำมักจะมีราฟูสีขาวทำให้อาจเข้าใจผิดว่าอาการผิดปกตินี้มีเชื้อราเป็นสาเหตุ  อาการผิดปกติของดอกอ่อนของกล้วยไม้มักเกิดอย่างรวดเร็วนี้  บางครั้งเกษตรกรเรียกว่าอาการนี้ว่า “โรคอ้ายฮวบ”

  1. เก็บทำลายต้นกล้วยไม้ที่ไม่ต้องการทิ้ง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของแมลงวันดอกกล้วยไม้ตัวเต็มวัย

  2. ควรเก็บทำลายดอกตูมที่มีอาการเน่าฉ่ำน้ำหรือที่มีอาการบิดเบี้ยว

  3. ใช้สารป้องกันกำจัดแมลงประเภทดูดซึม เช่น สารคาร์โบซัลแฟน หรือ/และ สารเมทโธมิล พ่นทุกๆ 5-7 วัน ติดต่อกันจนกว่าการระบาดจะลดลง ควรฉีดพ่นที่บริเวณช่อดอกและเครื่องปลูกด้วย เพื่อจะได้ทำลายทั้งหนอนและดักแด้

 

เอกสารประกอบการเรียบเรียง
กุลฉวี กำจายภัย. 2526. โรคและแมลงศัตรูกล้วยไม้. หจก. ฟันนี่พับบลิชชิ่ง. 114 หน้า.
ธีระ สูตะบุตร. 2517. โรคของกล้วยไม้. วิทยาสารกล้วยไม้บางเขน. 375 หน้า.
พิสมัย ชวลิตวงษ์พร. 2538 . แมลงศัตรูไม้ดอกไม้ประดับของประเทศไทย.
อนงค์ จันทร์ศรีกุล. 2524. โรคและศัตรูไม้ประดับ. บริษัท สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด. 163 หน้า.
อำไพวรรณ ภราดร์นุวัฒน์. 2526. โรคของไม้ดอกไม้ประดับ. ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 126 หน้า.
อำไพวรรณ ภราดร์นุวัฒน์. 2540. โรคของกล้วยไม้.  ใน  สมศักดิ์ รักไพบูลย์สมบัติ. ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้
จากประสบการณ์. สมาคมพฤกษชาติแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. 414 หน้า.

สนใจข้อมูล/ความรู้ ด้านการเกษตรสามารถเข้าไปดูได้ที่

 goo.gl/oezFiy หรือ พิมพ์ @sotus

 www.facebook.com/sotus.int/

 https://www.youtube.com/channel/UCr0T_masJxA8_h5Y9xM5vdw