โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum zibethinum Sacc. อาการบนใบจะพบว่าแผลเป็นจุดวงสีน้ำตาลแดงซ้อนกัน เชื้อราสาเหตุของโรคระบาด กระจายจากใบและกิ่งสู่ดอกโดยลมและฝน ดังนั้นในระยะทุเรียนออกดอกบาน ดอกจะถูกทำลายโดยเชื้อรา ทำให้ดอกเน่าก่อนบาน และมักพบว่ามีราสีเทาดำ เจริญฟูคลุมกลีบดอก ทำให้ดอกแห้งร่วงหล่นไป

            อาการของโรคมองดูคล้ายโรคใบติด คือ ใบจะไหม้เป็นสีน้ำตาล มักเกิดบริเวณขอบใบหรือปลายใบ บริเวณเนื้อใบที่ไหม้เป็นสีน้ำตาลอ่อน ขอบแผลเป็นสีน้ำตาลเข้มล้อมรอบแผล เนื้อใบที่ถูกทำลายมองดูโปร่งใส ใบที่ไหม้ยังคงติดอยู่กับกิ่งไม่ร่วงหล่นง่าย โรคมักกระจายไปทั่วทั้งต้น ไม่เหมือนโรคใบติดที่มักเกิดเป็นหย่อมๆ โรคนี้พบได้ทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง แต่มองเห็นอาการได้ชัดเจนในช่วงฤดูแล้งซึ่งทุเรียนกำลังออกดอกติดผล

         

            สภาพอากาศที่ชื้น มีฝนตกจะส่งเสริมให้เชื้อราแพร่ระบาด จากใบและกิ่งที่เป็นโรค เข้าสู่ดอกโดยน้ำฝน และลม ทำให้ดอกทุเรียนเน่าดำก่อนจะบาน

  1. ตัดแต่งกิ่งทุเรียนหลังเก็บเกี่ยว ช่วยให้ภายในต้นทุเรียนมีการถ่ายเทอากาศและความชื้นที่ดี แสงสว่างส่องถึงทั่วต้น จะสามารถลดการเกิดโรคและการระบาดของเชื้อรา

  2. ตัดกิ่งและส่วนที่เป็นโรคออก แล้วนำออกจากแปลงไปเผาทำลายนอกสวน เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรคภายในสวน

  3. พ่นสารเคมี เช่น คาร์เบนดาซิม 50% WP /50%SC (เบ็นตัส/เบ็นตัส เอสซี) อัตรา 200-300 กรัม/ซีซี ร่วมกับ แมนโคเซบ 80% WP (ไดเทน เอ็นที เอ็ม-45) อัตรา 500 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร ทุกๆ 7-10 วัน อย่างน้อย 3-4 ครั้ง ในช่วงระยะเวลาที่พบการระบาดของโรค

 

เอกสารอ้างอิง
นิพนธ์ วิสารทานนท์. 2542. โรคไม้ผลเขตร้อนและการป้องกันกำจัด. เอกสารเผยแพร่วิชาการหลักสูตร “หมอพืช-ไม้ผล” ฉบับที่ 1 โครงการเพื่อบรรเทาผลกระทบทางสังคม เนื่องจากวิกฤตทางเศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นิพนธ์ วิสารทานนท์. 2542. โรคทุเรียน. เอกสารเผยแพร่วิชาการหลักสูตร “หมอพืช-ไม้ผล” ฉบับที่ 4 โครงการเพื่อบรรเทาผลกระทบทางสังคม เนื่องจากวิกฤตทางเศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ศุภลักษณ์ กลับน่วม อัญชลี พัดมีเทศ. มปป. โรคทุเรียน. แผ่นพับเผยแพร่ที่ 172 กรมส่งเสริมการเกษตร
สุชาติ วิจิตรานนท์. 2547. โรคทุเรียนและการป้องกันกำจัด. เอกสารวิชาการทุเรียน กรมวิชาการเกษตร กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดตราด. 2557. ข่าวพยากรณ์และเตือนภัยการระบาดศัตรูพืช สำนักงาน         เกษตรจังหวัดตราด “ลดต้นทุน และปลอดภัย หากเกษตรกรใช้การศัตรูพืชแบบผสมผสาน” ประจำเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2557 (ฉบับที่ 3/2). กรมส่งเสริมการเกษตร

สนใจข้อมูล/ความรู้ ด้านการเกษตรสามารถเข้าไปดูได้ที่

 goo.gl/oezFiy หรือ พิมพ์ @sotus

 www.facebook.com/sotus.int/

 https://www.youtube.com/channel/UCr0T_masJxA8_h5Y9xM5vdw