โรคใบจุดมักพบตั้งแต่ระยะใบอ่อนที่แผ่กางเต็มใบ จะปรากฏอาการซีดจางเป็นปื้นคล้ายโดนน้ำร้อนลวก เกิดเป็นหย่อมทั่วทั้งใบ หรือบางส่วนของใบ ต่อมาขอบแผลจะมีสีเข้ม มีส่วนขยายพันธุ์เป็นจุดดำๆ โดยเชื้อราแต่ละชนิดจะแสดงอาการแตกต่างกัน คือ
-
อาการที่เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum sp. เกิดการกระจายบนเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว ในเวลาต่อมาใบอ่อนจะร่วงเป็นจำนวนมาก ใบแก่เป็นจุดกลม ขอบแผลสีเข้ม ขยายใหญ่ขึ้นและเชื่อมต่อกัน ทำให้มีลักษณะใบไหม้ฉีกขาด
-
อาการที่เกิดจากเชื้อรา Phomopsis sp. ทำให้เกิดเนื้อเยื่อตายบริเวณใบแก่ ขอบแผลมีขนาดไม่ชัดเจน
-
อาการที่เกิดจากเชื้อรา Phyllosticta sp. ทำให้เนื้อเยื่อตายบริเวณปลายใบ และมักมีเชื้อรา Pestalotiopsis sp. ปะปนเล็กน้อย
-
อาการที่เกิดจากเชื้อรา Pseudocercospora sp. ทำให้เนื้อตายเป็นจุดเหลี่ยมเล็กๆ กระจัดกระจายบนใบ และใต้ใบ มีกลุ่มสปอร์สีดำทำให้ใบร่วงรุนแรงได้
เชื้อราแพร่ระบาดโดยลม ฝน จากเนื้อเยื่อใบที่เป็นโรค หรือจากใบแห้งตาย และเข้าทำลายได้รุนแรงทั้งที่ใบอ่อนและใบแก่
-
การตัดแต่งกิ่งทุเรียนหลังเก็บเกี่ยว จะช่วยให้ภายในทรงพุ่มต้นทุเรียนมีการถ่ายเทอากาศและความชื้นที่ดี แสงแดดส่องได้ทั่วทั้งต้น ซึ่งจะทำให้ป้องกันและลดการระบาดของเชื้อรา
-
ตัดกิ่งที่เป็นโรคออกแล้วนำออกจากแปลงไปเผาทำลายนอกสวน เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรค
-
พ่นสารเคมี เช่น คาร์เบนดาซิม 50% WP /50%SC (เบ็นตัส/เบ็นตัส เอสซี) อัตรา 200-300 กรัม/ซีซี ร่วมกับ แมนโคเซบ 80% WP (ไดเทน เอ็นที เอ็ม-45) อัตรา 500 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร ทุกๆ 7-10 วัน เพื่อป้องกันการเกิดการระบาดของโรค
เอกสารอ้างอิง
นิพนธ์ วิสารทานนท์. 2542. โรคไม้ผลเขตร้อนและการป้องกันกำจัด. เอกสารเผยแพร่วิชาการหลักสูตร “หมอพืช-ไม้ผล” ฉบับที่ 1 โครงการเพื่อบรรเทาผลกระทบทางสังคม เนื่องจากวิกฤตทางเศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นิพนธ์ วิสารทานนท์. 2542. โรคทุเรียน. เอกสารเผยแพร่วิชาการหลักสูตร “หมอพืช-ไม้ผล” ฉบับที่ 4 โครงการเพื่อบรรเทาผลกระทบทางสังคม เนื่องจากวิกฤตทางเศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ศุภลักษณ์ กลับน่วม อัญชลี พัดมีเทศ. มปป. โรคทุเรียน. แผ่นพับเผยแพร่ที่ 172 กรมส่งเสริมการเกษตร
สุชาติ วิจิตรานนท์. 2547. โรคทุเรียนและการป้องกันกำจัด. เอกสารวิชาการทุเรียน กรมวิชาการเกษตร กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดตราด. 2557. ข่าวพยากรณ์และเตือนภัยการระบาดศัตรูพืช สำนักงาน เกษตรจังหวัดตราด “ลดต้นทุน และปลอดภัย หากเกษตรกรใช้การศัตรูพืชแบบผสมผสาน” ประจำเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2557 (ฉบับที่ 3/2). กรมส่งเสริมการเกษตร
สนใจข้อมูล/ความรู้ ด้านการเกษตรสามารถเข้าไปดูได้ที่
![]() |
goo.gl/oezFiy หรือ พิมพ์ @sotus |
![]() |
www.facebook.com/sotus.int/ |
![]() |
https://www.youtube.com/channel/UCr0T_masJxA8_h5Y9xM5vdw |