โรคใบไหม้ทุเรียนเกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora อาการของโรคบนใบจะเห็นจุดฉ่ำน้ำเล็กๆ และขยายใหญ่ขึ้นเป็นสีน้ำตาลคล้ำ รูปร่างแผลค่อนข้างกลม ส่วนใหญ่เชื้อราจะเข้าทำลายในช่วงใบอ่อนถึงใบเพสลาด ใบที่เป็นโรคจะร่วงหล่น ต้นทุเรียนจะค่อยๆ ทรุดโทรม และตายในที่สุด

       โดยทั่วไปเชื้อราไฟทอปธอร่าเป็นสาเหตุของโรครากเน่าโคนเน่า  แต่อาจเข้าทำลายใบทุเรียนได้ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น ในฤดูฝนที่มีฝนตกชุกอย่างต่อเนื่องและมีลมแรง ทำให้เชื้อราแพร่ระบาดไปอย่างกว้างขวาง

  1. ตัดแต่งกิ่งทุเรียนให้โปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก ตัดแต่งกิ่งแขนงเล็กที่เป็นโรค เก็บรวบรวมใบ ดอก และผลที่เป็นโรค และร่วงหล่นอยู่ในบริเวณสวนไปเผาทำลาย

  2. บริเวณสวนที่มีพื้นที่ต่ำควรทำร่องระบายน้ำ หรือ พูนโคนต้นทุเรียน เพื่อไม่ให้มีน้ำท่วมขัง

  3. สำรวจผลทุเรียนในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบอาการจุดฉ่ำน้ำเล็กๆ ควรพ่นสารเคมี เช่น ฟอสอีทิล อะลูมิเนียม 80% WG (อามิโก้) อัตรา 300-500 กรัม หรือ แมนโคเซบ 60% + วาลิฟีนาเลท 6 % WG (เอสโตเคด) อัตรา 500 กรัมผสมน้ำ 200 ลิตร พ่นในทรงพุ่ม

       ควบเก็บรวบรวมส่วนต่างๆ ของทุเรียนที่เป็นโรคนำมาเผาทำลายให้หมด  ห้ามนำ กิ่ง ใบ ดอก และผลที่เป็นโรคไปฝัง หรือ ทิ้งลงในแม่น้ำ ลำคลอง เพราะจะทำให้เชื้อราไฟทอปธอร่ากระจายออกไปในพื้นที่กว้างขวาง

 

เอกสารอ้างอิง
นิพนธ์ วิสารทานนท์. 2542. โรคไม้ผลเขตร้อนและการป้องกันกำจัด. เอกสารเผยแพร่วิชาการหลักสูตร “หมอพืช-ไม้ผล” ฉบับที่ 1 โครงการเพื่อบรรเทาผลกระทบทางสังคม เนื่องจากวิกฤตทางเศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นิพนธ์ วิสารทานนท์. 2542. โรคทุเรียน. เอกสารเผยแพร่วิชาการหลักสูตร “หมอพืช-ไม้ผล” ฉบับที่ 4 โครงการเพื่อบรรเทาผลกระทบทางสังคม เนื่องจากวิกฤตทางเศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ศุภลักษณ์ กลับน่วม อัญชลี พัดมีเทศ. มปป. โรคทุเรียน. แผ่นพับเผยแพร่ที่ 172 กรมส่งเสริมการเกษตร
สุชาติ วิจิตรานนท์. 2547. โรคทุเรียนและการป้องกันกำจัด. เอกสารวิชาการทุเรียน กรมวิชาการเกษตร กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดตราด. 2557. ข่าวพยากรณ์และเตือนภัยการระบาดศัตรูพืช สำนักงาน         เกษตรจังหวัดตราด “ลดต้นทุน และปลอดภัย หากเกษตรกรใช้การศัตรูพืชแบบผสมผสาน” ประจำเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2557 (ฉบับที่ 3/2). กรมส่งเสริมการเกษตร

สนใจข้อมูล/ความรู้ ด้านการเกษตรสามารถเข้าไปดูได้ที่

 goo.gl/oezFiy หรือ พิมพ์ @sotus

 www.facebook.com/sotus.int/

 https://www.youtube.com/channel/UCr0T_masJxA8_h5Y9xM5vdw