โรคผลร่วงหรือโรคขั้วผลเน่า เกิดจากเชื้อราได้หลายชนิด ได้แก่ เชื้อรา Botryodiplodia sp., Diplodia natalensis, Colletotrichum gloeosporiodes, Phomopsis sp. เชื้อราสาเหตุของโรคเป็นเชื้อราอาศัยอยู่ได้ทั้งในเศษซากพืชและบนต้นพืช เจริญได้ดีในสภาพร้อนชื้น อุณหภูมิประมาณ 30 องศาเซลเซียส แพร่กระจายได้ดีในฤดูฝน มีพืชอาศัยหลายชนิดและสามารถทำลายพืชอาศัยโดยสร้างสปอร์บนพืชอาศัยนั้นๆ ได้
-
โรคนี้ระบาดรุนแรงมากในฤดูฝน โดยเฉพาะในเดือนสิงหาคม-ตุลาคม
-
สภาพของต้นส้มที่อ่อนแอ ไม่สมบูรณ์ มักอ่อนแอต่อการเข้าทำลายของโรค จึงมักพบการเกิดโรคได้ง่ายและรุนแรง
-
บริเวณทรงพุ่มของต้นส้มที่มีกิ่งรกทึบแน่นเกินไป หรือมีการทับซ้อนของกิ่งก้านมาก
เชื้อสาเหตุเริ่มเข้าทำลายตรงขั้วผล ทำให้ขั้วผลเกิดแผลเน่า บริเวณผิวเปลือก ตรงขั้วผลเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ในขณะที่บริเวณอื่นยังเขียว อาจพบอาการกิ่งแห้งจากบริเวณที่ติดกับขั้วผล โรคนี้ทำให้ผลส้มร่วง หรือผลเหี่ยวและแห้งติดอยู่กับกิ่งได้
-
ดูแลให้สภาพของต้นส้มสมบูรณ์ แข็งแรง
-
ควรตัดแต่งทรงพุ่มไม่ให้รกทึบ และจัดกิ่งให้เป็นระเบียบ ภายหลังผลมีอายุประมาณ 3 เดือน
-
ในฤดูฝนควรมีการควบคุมวัชพืชบริเวณทรงพุ่มของต้นส้ม อย่าปล่อยให้รกทึบ
-
เมื่อพบโรคเกิดขึ้นให้ระมัดระวังการให้น้ำแก่ต้นส้ม โดยไม่ควรรดน้ำให้เปียกถึงยอด
-
พ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น คาร์เบนดาซิม 50% WP / 50% SC (เบ็นตัส/เบ็นตัส เอสซี) สลับกับ แมนโคเซบ 80% WP (ไดเทน เอ็นที เอ็ม-45) โดยเฉพาะในฤดูฝน และเมื่อผลส้มมีอายุประมาณ 7-8 เดือนขึ้นไป โดยเฉพาะเมื่อสภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลง
-
สภาพแปลงปลูกที่พบโรคใบเปื้อนน้ำหมาก โรคเมลาโนส โรคยางไหล โรคกิ่งแห้ง หรือโรคแอนแทรคโนส จะทำให้ผลส้มมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากขึ้น จึงควรต้องป้องกันควบคุมโรคดังกล่าว
-
พ่นสารเคมี เช่น คาร์เบนดาซิม 50% WP / 50%SC (เบ็นตัส/เบ็นตัส เอสซี) อัตรา 200-300 กรัม/ซีซี ร่วมกับ แมนโคเซบ 80% WP (ไดเทน เอ็นที เอ็ม-45) อัตรา 500 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร ทุก 7-10 วัน อย่างน้อย 3-4 ครั้ง ในช่วงระยะเวลาที่พบการระบาดของโรค
ขอขอบคุณ
รศ.ดร.อำไพวรรณ ภราดร์นุวัฒน์ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สนใจข้อมูล/ความรู้ ด้านการเกษตรสามารถเข้าไปดูได้ที่
![]() |
goo.gl/oezFiy หรือ พิมพ์ @sotus |
![]() |
www.facebook.com/sotus.int/ |
![]() |
https://www.youtube.com/channel/UCr0T_masJxA8_h5Y9xM5vdw |