ปัจจุบันการปลูกมะม่วงสามารถบังคับให้มะม่วงออกดอกตามช่วงเวลาที่ต้องการได้ แต่ปัญหาที่มักพบเจอและมีความสำคัญคือ มะม่วงไม่ค่อยติดผลหรือติดผลน้อย ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งนี้สาเหตุหนึ่งที่สำคัญคือ การผสมเกสรภายในดอกมะม่วงที่ไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้ผลเกิดการหลุดร่วงหลังจากดอกบานแล้ว หรืออาจติดเป็นผลได้ แต่เป็นผลที่ไม่สมบูรณ์ ผลมีอกเป็นร่อง ถ้าผ่าดูจะไม่พบเมล็ดอยู่ภายในแล้วก็หลุดร่วงไป
จากปัญหาดังกล่าวทางทีมฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัทโซตัสฯ จึงได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูล พบว่าธาตุแคลเซียม (Ca) ที่มีบทบาทสำคัญต่อการงอกของละอองเกสร และช่วยให้หลอดละอองเกสรที่งอกแล้วยืดตัวได้ดี ส่วนธาตุโบรอน (B) มีบทบาทสำคัญต่อเมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต การใช้ออกซิเจนในการหายใจและการสังเคราะห์สารเพกติน กล่าวคือ Ca และ B เป็นธาตุอาหารพืชที่สำคัญต่อการผสมเกสรและการติดผล ดังนั้นทางทีมวิจัยจึงทดสอบประสิทธิภาพของ นูบา-สเปรย์ แคลเซียมโบรอน ในการช่วยให้เกสรตัวผู้มีความแข็งแรงซึ่งนำไปสู่ความมีชีวิตของละอองเรณูที่มากขึ้นและการงอกของหลอดละอองเรณูที่จะเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ภายในเกสรตัวเมียได้มากขึ้น โดยทำการทดลองในมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง ที่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี จำนวน 3 กรรมวิธี ดังนี้ 1. การไม่พ่นปุ๋ยทางใบ 2.พ่นนูบา-สเปรย์ แคลเซียมโบรอน อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร และ 3. พ่นนูบา-สเปรย์ แคลเซียมโบรอน อัตรา 10 มิลลิลิตร ร่วมกับการพ่นปุ๋ยนูแทค ซุปเปอร์-เค อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เริ่มพ่นเมื่อช่อดอกยาวประมาณ 5 เซนติเมตร (ระยะเดือยไก่) โดยพ่นทั้งหมด 3 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 3 วัน จากนั้นทำการสุ่มเลือกช่อดอกจำนวน 3 ช่อ ในระยะดอกเริ่มบาน นำไปทดสอบความมีชีวิตของละอองเรณูและการงอกของละอองเรณู
ผลการทดสอบประสิทธิภาพของ นูบา-สเปรย์ แคลเซียมโบรอน พบว่า การพ่นนูบา-สเปรย์ แคลเซียมโบรอน อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร และการพ่นนูบา-สเปรย์ แคลเซียมโบรอน อัตรา 10 มิลลิลิตร ร่วมกับการพ่นปุ๋ยนูแทค ซุปเปอร์-เค อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร สามารถเพิ่มเปอร์เซ็นต์ความมีชีวิตของละอองเรณูได้สูงกว่ากรรมวิธีไม่พ่นปุ๋ยทางใบ (ภาพที่ 1) สังเกตได้จากการติดสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำเมื่อย้อมด้วยสี iodine potassium iodide (I2-K2) 1% ที่แสดงถึงความมีชีวิต (ภาพที่ 2A) สอดคล้องกับผลการทดลองความมีชีวิตของละอองเรณูที่ย้อมด้วยสี fluorescein diacetate (FDA) โดยละอองเรณูที่มีชีวิตจะพบการติดสีเขียวเรืองแสงรอบละอองเรณู ในขณะที่ละอองเรณูที่ไม่มีชีวิตจะไม่พบการติดสีดังกล่าวหรือมีสีเขียวซีด (ภาพที่ 2B)
การทดสอบการงอกของละอองเรณูบนเกสรเพศเมีย พบว่า การพ่นนูบา-สเปรย์ แคลเซียมโบรอน อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร และนูบา-สเปรย์ แคลเซียมโบรอน อัตรา 10 มิลลิลิตร ร่วมกับการพ่นปุ๋ยนูแทค ซุปเปอร์-เค อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร จะพบการงอกของหลอดละอองเรณูในเกสรเพศเมียมากกว่าการไม่พ่น โดยละอองเรณูที่งอกจะเป็นเส้นสีเขียวเรืองแสงในก้านชูเกสรเพศเมีย (ภาพที่ 3)
จากการทดลองจะเห็นได้ว่าการพ่น นูบา-สเปรย์ แคลเซียมโบรอน ตั้งแต่ระยะเดือยไก่สามารถช่วยให้เกสรเพศผู้มีความแข็งแรงจึงส่งผลให้การปฏิสนธิของละอองเรณูกับไข่ภายในดอกเพศเมียมีประสิทธิภาพมากขึ้น และโอกาสในการติดผลก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยการพ่นนูบา-สเปรย์ แคลเซียมโบรอนอัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร สามารถเพิ่มทั้งความมีชีวิตของละอองเรณูและการงอกของหลอดละอองเรณู และเพื่อประสิทธิภาพที่ดีขึ้นควรใช้ร่วมกับปุ๋ยนูแทค ซุปเปอร์-เค อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร (ภาพที่ 1) เนื่องจากการพ่นปุ๋ยนูแทค ซุปเปอร์-เค จะไปส่งเสริมให้ช่อดอกมีการสะสมอาหารเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ดอกมะม่วงมีปริมาณแป้งภายในดอกสูงขึ้น เมื่อเกสรเพศผู้พร้อมที่จะปฏิสนธิจะมีกระบวนการภายในดอกที่เปลี่ยนแป้งไปเป็นน้ำตาลเพื่อใช้ในการงอกของหลอดละอองเรณู จึงทำให้มีการงอกของหลอดละอองเรณูที่สูงขึ้น ส่งผลให้การผสมเกสรสมบูรณ์ การติดผลก็จะดี และยังสามารถลดปัญหาการหลุดร่วงได้อีกด้วย