การพัฒนาความต้านทานของเพลี้ยไฟต่อสารกำจัดแมลงจะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วถ้าเกษตรกรใช้สารเคมีต่ำกว่าอัตราแนะนำตามฉลาก หรือใช้สารเคมีชนิดเดียวหรือสารที่มีกลไกการออกฤทธิ์แบบเดียวกันซ้ำๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน  เมื่อเพลี้ยไฟต้านทานต่อสารกำจัดแมลงชนิดนั้นหรือกลุ่มนั้นแล้ว จะทำให้ประสิทธิภาพของสารกำจัดแมลงชนิดนั้นหรือกลุ่มนั้นลดลง หรือต้องใช้ในอัตราที่สูงขึ้นเพื่อให้ได้ผลเหมือนเดิม ทำให้สิ้นเปลืองและเป็นอันตรายต่อเกษตรกร ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม หรือหากเกิดความต้านทานในระดับรุนแรง สารกำจัดแมลงชนิดนั้นหรือกลุ่มนั้นอาจไม่มีประสิทธิภาพโดยสิ้นเชิงเลยก็ได้

            โดยทั่วไปในธรรมชาติประชากรแมลงจะมีทั้งตัวที่อ่อนแอ และตัวที่แข็งแรงต้านทานต่อสารกำจัดแมลงปะปนกันอยู่  แต่มักจะมีตัวที่อ่อนแอในอัตราส่วนที่มากกว่า  เมื่อพ่นสารกำจัดเพลี้ยไฟครั้งแรก เพลี้ยไฟอ่อนแอส่วนใหญ่จะตาย แต่เพลี้ยไฟส่วนน้อยที่ต้านทานต่อสารกำจัดแมลงจะอยู่รอดและมีโอกาสผสมพันธุ์กันเอง ทำให้ในรุ่นถัดไปมีอัตราส่วนเพลี้ยไฟที่ต้านทานต่อสารกำจัดแมลงเพิ่มมากขึ้น เมื่อพ่นสารกำจัดแมลงชนิดเดิมซ้ำๆ ต่อไป จะทำให้เพลี้ยไฟถูกคัดเลือกเหลือแต่ตัวที่แข็งแรงต้านทานต่อสารกำจัดแมลงชนิดนั้น

  1. สารกำจัดแมลงแทรกซึมเข้าที่ผิวลำตัวแมลงได้น้อยลง

  2. ลดการตอบสนองต่อฤทธิ์ของสารกำจัดแมลง

  3. แมลงสามารถเพิ่มอัตราการย่อย และขับสารกำจัดแมลงออกจากร่างกายได้ดีขึ้น

  4. แมลงมีพฤติกรรมหลีกหนีต่อการได้รับสารกำจัดแมลงอย่างรวดเร็ว

การสลับกลุ่มสารเคมี หรือสารที่มีกลไกการออกฤทธิ์เดียวกันเพื่อลดปัญหาการต้านทานสารกำจัดแมลง

  • การพ่นสารกำจัดแมลงแบบหมุนเวียนเพื่อชะลอความต้านทานที่เหมาะสม ควรมีกลุ่มสารอย่างน้อย 3-4 กลุ่ม โดยควรคำนึงถึงช่วงเวลาที่มีการระบาดของแมลง ต้นทุนการพ่นสารกำจัดแมลง (ราคา/อัตราน้ำที่ใช้) และราคาผลผลิต

  • การใช้สารกำจัดแมลงให้มีประสิทธิภาพ ควรใช้สารตามอัตราที่แนะนำบนฉลาก

  • แต่ละช่วงการพ่นจะนานประมาณ 1 ช่วงอายุขัยของแมลงศัตรูพืช ควรพ่นสารกำจัดแมลงในกลุ่มเดิมหรือสลับกับกลุ่มอื่น เมื่อปริมาณแมลงมีมากถึงระดับเศรษฐกิจ (ระดับตัดสินใจในการพ่นสาร) เท่านั้น

  • ในช่วงการพ่นต่อมาจะต้องไม่พ่นสารกำจัดแมลงกลุ่มเดียวกันกับที่เคยพ่นมาแล้วก่อนหน้า เช่น ต้องพ่นเรียงกันจากสารกลุ่ม ก.  ไป  ข.  ไป ค.  ไป ง. ก่อน จึงกลับมาพ่นกลุ่ม ก. ได้

 ตัวอย่างการพ่นสารกำจัดแมลงแบบหมุนเวียนเพื่อกำจัดเพลี้ยไฟในพืชต่างๆ

         เพลี้ยไฟฝ้าย (Thrips palmi  Karny) ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเข้าทำลายดอกกล้วยไม้ โดยใช้ปากเขี่ยเนื้อเยื่อให้ช้ำแล้วดูดน้ำเลี้ยงจากเซลล์พืช  บริเวณที่ถูกทำลายเกิดรอยด่างขาว  เพลี้ยไฟสามารถทำลายกล้วยไม้ได้เกือบตลอดทั้งปี แต่พบน้อยในช่วงฤดูฝน เกษตกรมีการใช้สารเคมีอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดปัญหาการดื้อยา สารกำจัดแมลงที่ใช้เป็นประจำไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดแมลงเหมือนเดิม

ขอบคุณข้อมูลจาก กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ

 

สนใจข้อมูล หรือ ความรู้เพิ่มเติมด้านการเกษตรสามารถเข้าไปดูได้ที่

Line@ ID: goo.gl/oezFiy หรือ พิมพ์ @sotus

Facebook : https://www.facebook.com/sotus.int/

Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCr0T_masJxA8_h5Y9xM5vdw