ทุเรียนเป็นพืชที่ต้องการการดูแลเอาใจใส่อยู่เสมอ ตั้งแต่ระยะแรกของการเจริญเติบโตจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิต ทุเรียนมีโรคและแมลงศัตรูพืชหลายชนิดรบกวน ทำให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิต  ไฟทอปธอร่า เป็นโรคที่ทำความเสียหายต่อสวนทุเรียนเป็นอย่างมาก ในประเทศไทยจะพบเชื้อราไฟทอปธอร่าชนิด Phytophthora palmivora และ Phytophthora nicotianae var. parasitica เชื้อทั้ง 2 ชนิดนี้ จะอาศัยอยู่ในดิน หากมีฝนตกหรือน้ำท่วมเชื้อจะระบาด ซึ่งเกษตกรไม่สามารถรู้ได้ จะรู้อีกครั้งก็ต่อเมื่อต้นทุเรียนแสดงอาการแล้ว เชื้อนี้จะระบาดรวดเร็มมากในพื้นที่ที่มีฝนตกชุกและความชื้นสูง

  • ดินแน่นและมีน้ำขังทำให้ไม่สะดวกต่อการถ่ายเทอากาศและการระบายน้ำไม่ดี

  • สภาพต้นทุเรียนอ่อนแอต่อการเกิดโรค เช่น รากหรือโคนต้นเกิดบาดแผล ขาดการดูแลรักษา หรือเกิดจากการให้ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป

  • สำหรับโรครากเน่าและโคนเน่าซึ่งเกิดจากเชื้อราไฟทอปธอร่านั้น พบการระบาดของโรคได้รุนแรงยิ่งขึ้นในสวนที่ค่อนข้างทึบ บริเวณทรงพุ่มมีความชื้นสูงมาก

            โดยทั่วไปเชื้อราไฟทอปธอร่าจะเข้าทำลายต้นทุเรียนที่ระบบรากหรือโคนต้น เชื้อจะแพร่กระจายเข้าสู่ระบบท่อน้ำท่ออาหารของลำต้น  หลังจากนั้นเมื่อเชื้อราเจริญเติบโตก็จะแพร่กระจายไปทั่วต้น เมื่อสังเกตจากทรงพุ่มของต้นทุเรียนใบจะไม่เป็นมัน โดยเฉพาะช่วงกลางวันที่มีแดดจัดใบจะดูสลด แต่จะกลับเป็นปกติในตอนเย็น ต่อมาใบล่างจะเริ่มเป็นจุดสีเหลืองแล้วหลุดร่วงไป อาจเกิดทั้งต้นหรือด้านใดด้านหนึ่งของทรงพุ่ม หากโรครุนแรงอาจพบใบเหลืองร่วงทั้งต้น และทุเรียนจะยืนต้นตายในที่สุด

            มักพบอาการของโรคในช่วงปลายฤดูฝน ในขณะที่เชื้อราจะเริ่มเข้าทำลายตั้งแต่ช่วงต้นฤดูฝน เชื้อจะเข้าเจริญและพัฒนาในต้นพืช จะสังเกตเห็นผิวเปลือกของลำต้น หรือกิ่งมีคราบคล้ายน้ำเกาะติด สามารถเห็นได้ชัดในสภาพที่ต้นทุเรียนแห้ง เมื่อสังเกตที่ผิวเปลือกจะพบรอยแตกเล็กๆ เป็นร่องทำให้น้ำยางสีน้ำตาลแดงไหลออกจากแผลในช่วงเช้าที่อากาศชื้น น้ำยางจะแห้งในช่วงที่มีแดดจัด เห็นคราบน้ำบริเวณเปลือกของลำต้น

            เชื้อราไฟทอปธอร่าอาจเข้าทำลายใบและผลทุเรียนได้ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น ในฤดูฝนที่มีฝนตกชุกอย่างต่อเนื่องและมีลมแรง  ทำให้เชื้อราแพร่ระบาดไปอย่างกว้างขวาง ลักษณะอาการบนใบจะเห็นจุดฉ่ำน้ำเล็กๆ และขยายใหญ่ขึ้นเป็นสีน้ำตาลคล้ำ รูปร่างแผลค่อนข้างกลม ส่วนใหญ่เชื้อราจะเข้าทำลายในช่วงใบอ่อนถึงเพสลาด ใบที่เป็นโรคจะร่วงหล่น ต้นทุเรียนจะค่อยๆ ทรุดโทรม และตายในที่สุด  ส่วนอาการที่ผลทุเรียนมักพบจุดช้ำสีน้ำตาลจางๆ ปนเทา และขยายตัวออกเป็นวงกลมหรือค่อนข้างรีไปตามรูปร่างของผล มักพบเกิดกับผลในช่วงประมาณ 1 เดือนก่อนเก็บเกี่ยวจนกระทั่งเก็บเกี่ยว และยังพบการเน่าเสียภายหลังการเก็บเกี่ยวในระหว่างการบ่มให้สุก

 

 

 

 

  • การใช้ต้นตอที่ต้านทานโรค

  • การตัดแต่งกิ่งทุเรียนให้โปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก และนำส่วนที่เป็ฯโรคไปเผาทำลาย

  • ควบคุมวัชพืชในแปลงทุเรียนโดยเฉพาะบริเวณโคนต้น

  • ควรสำรวจแปลงอยู่เสมอ หากพบอาการของโรคเพียงเล็กน้อยที่ลำต้นหรือกิ่งแขนงใหญ่ ให้ขูดผิวเปลือกบริเวณที่เป็นโรคออกไปเผาทำลาย แล้วทาแผลด้วยปูนแดง หรือสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น สารคอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ (ฟังกูราน-โอเอช) หรือสารแทนโคเซบ (ไดเทน เอ็นที เอ็ม-45)

  • อย่าให้น้ำขังแฉะบริเวณโคนต้น อาจทำร่องระบายน้ำ หรือพูนโคน และควรใช้สารปรับปรุงดิน เช่น ลีโอเทค และ ฮิวเมท-เทรซ บำรุงดินให้ร่วนซุยระบายน้ำดี

  • หมั่นสำรวจผลทุเรียนในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วงผลแก่หากพบผลเป็นจุดเน่าควรพ่นสารเคมี เช่น ฟอสอีทิล อะลูมิเนียม 80% WG (อามิโก้) อัตรา 300-500 กรัม หรือ แมนโคเซบ 60% + วาลิฟีนาเลท 6% WG (เอสโตเคด) อัตรา 500 กรัมผสมน้ำ 200 ลิตร พ่นในทรงพุ่มโดยเน้นที่ผล ขั่วผล และท้องกิ่งทุเรียน

 


สนใจข้อมูล/ความรู้ ด้านการเกษตร หรือ ต้องการ "คู่มือไฟทอปธอร่า" สามารถเข้าไปขอได้ที่

Line@ ID: goo.gl/oezFiy หรือ พิมพ์ @sotus

Facebook: www.facebook.com/sotus.int/

Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCr0T_masJxA8_h5Y9xM5vdw