เดือนมิถุนายน-สิงหาคม เป็นช่วงเวลาแห่งความชุ่มฉ่ำจากน้ำฝน เกษตรกรผู้ปลูกพืชจึงควรระวังการเกิดและการระบาดของศัตรูพืช และมีการวางแผนที่ดี เพราะความชุ่มฉ่ำ ชุ่มชื้น อากาศมีความชื้นสูง เป็นสภาพที่ทำให้เกิดการเข้าทำลายและการระบาดของโรค-แมลงต่างๆ หลากหลายชนิด

             ปัญหาโรคพืชที่มักเกิดในช่วงนี้คือโรคทางใบทั้งที่เกิดได้จากเชื้อราและแบคทีเรีย โดยเฉพาะโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคเน่าเละ โรคเหี่ยวเขียว ส่วนโรคที่เกิดจากเชื้อราเป็นโรคที่ทำลายได้ทั้งระบบราก ใบ กิ่งก้าน และลำต้น เช่น โรคราน้ำค้าง โรคใบติด โรคใบจุด โรคใบไหม้ และโรคแอนแทรคโนส เป็นต้น ควรมีการป้องกันโรคด้วยการพ่นสารกลุ่มแมนโคเซบ (ไดเทน เอ็นที เอ็ม-45) หรือ สารคาร์เบ็นดาซิม (เบ็นตัส/เบ็นตัส เอสซี) สลับกับสารพวกคอปเปอร์ (ฟังกูราน-โอเอช หรือ โคบ๊อกซ์)

            ในไม้ผลหลายชนิดเช่น ส้ม ทุเรียน ต้องระวังโรครากเน่าโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อราไฟทอปธอร่า มักจะพบอาการของโรคที่โคนต้นหรือลำต้นเป็นแผลเน่า แผลมีสีน้ำตาล หรือ สีน้ำตาลแดง เปลือกแตก ถ้าพบอาการให้รีบถากเปลือกที่เน่าออก และทาหรือพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา นอกจากนี้ยังมีโรคใบจุด โรคใบจุดสาหร่าย โรคแอนแทรคโนส และโรคราสีชมพู โรคที่เกิดจากเชื้อราพิเทียม และเชื้อราฟิวซาเรียม ฯลฯ

            ในช่วงต้นและปลายฤดูฝนมักจะมีฝนตกสลับกับอากาศร้อน เกษตรกรที่ปลูกพืชต้องระวัง “เพลี้ยไฟ” และ “ไรแดง”  ให้มาก การระบาดมักจะรุนแรงและรวดเร็ว ควรมีการเฝ้าระวังและตรวจการระบาดอย่างสม่ำเสมอ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สนใจข้อมูล/ความรู้ ด้านการเกษตรสามารถเข้าไปดูได้ที่

 goo.gl/oezFiy หรือ พิมพ์ @sotus

 www.facebook.com/sotus.int/

 https://www.youtube.com/channel/UCr0T_masJxA8_h5Y9xM5vdw