โรคเน่าแห้งหรือโรคราเมล็ดผักกาด  โรคนี้เกิดจากเชื้อราสเคลอโรเตียม (Sclerotium rolfsii )  เชื้อราสาเหตุมักเข้าบริเวณรากหรือโคนต้น เกิดอาการเน่าซึ่งจะผุเปื่อย  บางครั้งจะมีเส้นใยสีขาว และมีเม็ดกลมๆ คล้ายเมล็ดผักกาดเกาะอยู่ตามแผลที่โคนต้น บางครั้งอาจเข้าทำลายที่ใบ ทำให้ใบเน่าเป็นสีน้ำตาล เมื่ออากาศแห้งใบจะเหี่ยวและร่วง

 

  • พบโรคระบาดรุนแรงมากในกล้วยไม้สกุลหวาย  ฟาแลนนอฟซีส  แวนด้า แวนด้าลูกผสม และกล้วยไม้ดินชนิดต่างๆ

  • อาการของโรคเป็นแผลเน่าแห้ง มีสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลเข้ม

  • โรคนี้สามารถเข้าทำลายได้ทุกส่วนของต้นกล้วยไม้

  • เมื่อเชื้อเข้าทำลายรากกล้วยไม้ รากมีอาการชะงักการเจริญเติบโต ปลายรากกุด มีอาการเน่าเป็นแผลแห้งจนถึงกรอบกรอบ คล้ายอาการขาดน้ำ สีน้ำตาล  ต้นมักตายในที่สุด

  • มักจะพบเส้นใยที่มีลักษณะเส้นใหญ่ หยาบ สีขาว และเม็ด sclerotium

  1. ระมัดระวังการปนเปื้อนของเชื้อจากการนำกล้วยไม้ใหม่และจากเครื่องปลูก

  2. เก็บรวบรวมและทำลายต้นกล้วยไม้ที่เป็นโรคโดยการเผาไฟ

  3. ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบริเวณที่พบโรคด้วยแอลกอฮอล์ หรือ คลอรอกซ์

  4. หากพบการระบาดมากควรใช้สารคาร์บ๊อกซิน (เช่น ไวตาแวกซ์) ฉีดพ่น 2-3 ครั้ง

  5. ระมัดระวังการใช้สารเบโนมิล เนื่องจากสามารถกระตุ้นการเกิดโรคได้

เอกสารประกอบการเรียบเรียง
กุลฉวี กำจายภัย. 2526. โรคและแมลงศัตรูกล้วยไม้. หจก. ฟันนี่พับบลิชชิ่ง. 114 หน้า.
ธีระ สูตะบุตร. 2517. โรคของกล้วยไม้. วิทยาสารกล้วยไม้บางเขน. 375 หน้า.
พิสมัย ชวลิตวงษ์พร. 2538 . แมลงศัตรูไม้ดอกไม้ประดับของประเทศไทย.
อนงค์ จันทร์ศรีกุล. 2524. โรคและศัตรูไม้ประดับ. บริษัท สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด. 163 หน้า.
อำไพวรรณ ภราดร์นุวัฒน์. 2526. โรคของไม้ดอกไม้ประดับ. ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 126 หน้า.
อำไพวรรณ ภราดร์นุวัฒน์. 2540. โรคของกล้วยไม้.  ใน  สมศักดิ์ รักไพบูลย์สมบัติ. ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้จากประสบการณ์. สมาคมพฤกษชาติแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. 414 หน้า.

 


สนใจข้อมูล/ความรู้ ด้านการเกษตรสามารถเข้าไปดูได้ที่

 goo.gl/oezFiy หรือ พิมพ์ @sotus

 www.facebook.com/sotus.int/

 https://www.youtube.com/channel/UCr0T_masJxA8_h5Y9xM5vdw