เชื้อราสาเหตุจะเข้าทำลายบริเวณกิ่งในทรงพุ่มที่ทับซ้อนกัน หรือหนาแน่น ซึ่งทำให้ทรงพุ่มทึบแน่นสะสมความชื้น และมีโอกาสที่เชื้อราจะเข้าทำลายพืชได้ง่าย ทำให้เกิดอาการกิ่งแห้งและใบเหลืองร่วง เมื่อดูจากภายนอกทรงพุ่ม จะเห็นต้นทุเรียนมีอาการใบเหลืองร่วงเป็นหย่อมๆ คล้ายกับอาการกิ่งแห้ง หรือโรคโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อไฟทอปธอร่า แต่ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่าตามกิ่งที่มีอาการเหลืองและใบร่วงอยู่ด้านในของพุ่ม จะมองเห็นเส้นใยของเชื้อราสีขาวขึ้นปกคลุมกิ่ง เมื่อเชื้อราเจริญลุกลามและทำให้เป็นโรคมากขึ้น เส้นใยสีขาวที่เห็นเริ่มแรกจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีชมพู ซึ่งระยะนี้เป็นเวลาที่เชื้อราสร้างเซลล์ เมื่อถากเปลือกของกิ่งที่เป็นโรคจะเห็นเนื้อเยื่อแห้งเป็นสีน้ำตาล
โรคนี้ทำความเสียหายกับต้นทุเรียนในปลูกที่มีความชื้นสูง โดยระบาดรุนแรงในฤดูฝน มักพบในต้นทุเรียนที่ขาดการดูแลรักษา ไม่มีการตัดแต่งกิ่งหรือการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูที่เหมาะสม เชื้อราสาเหตุสามารถสร้างสปอร์ที่ปลิวแพร่กระจายไปกับลม ติดไปกับดินหรือส่วนของกิ่งพันธุ์ที่เป็นโรคได้
-
การตัดแต่งกิ่งทุเรียนภายหลังเก็บเกี่ยว จะช่วยให้สภาพภายในต้นทุเรียนมีการถ่ายเทอากาศและความชื้นที่ดี แสงแดดส่องถึงทั่วต้น จะสามารถช่วยลดการเกิดโรคและการระบาดของเชื้อรา
-
ในฤดูฝนเกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงบ่อยๆ หากพบกิ่งที่เริ่มเป็นโรคให้ถากเปลือกออก แล้วทาด้วยสารกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซบ (ไดเทน เอ็นที เอ็ม-45) หรือ คาร์เบนดาซิม 50% WP / 50% SC (เบ็นตัส/เบ็นตัส เอสซี) หรือ โพรพิเนบ 70% WP (โพรพิเนบ) ที่ผสมสารจับใบ
-
ตัดกิ่งที่เป็นโรคออก แล้วนำออกจากแปลงไปเผาทำลายนอกสวน เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรคภายในสวน
-
พ่นสารเคมี เช่น คาร์เบนดาซิม 50% WP /50%SC (เบ็นตัส/เบ็นตัส เอสซี) อัตรา 200-300 กรัม/ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร หรือ แมนโคเซบ 80% WP (ไดเทน เอ็นที เอ็ม-45) อัตรา 500 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร หรือ คอปเปอร์ ไฮดรอกไซด์ 77% WP (ฟังกูราน-โอเอช) อัตรา 200-300 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร หรือ คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 85% WP (โคบ๊อกซ์) อัตรา 300-400 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร หรือ แมนโคเซบ 60% + วาลิฟีนาเลท 6% WG (เอสโตเคด) อัตรา 300-500 กรัมผสมน้ำ 200 ลิตร หรือ อะซอกซีสโตรบิน 25% SC (จัมเปอร์) อัตรา 100-200 ซีซีต่อน้ำ 200 ลิตร ทุกๆ 5-7 วัน จนกว่าโรคจะหยุดระบาด
เอกสารอ้างอิง
นิพนธ์ วิสารทานนท์. 2542. โรคไม้ผลเขตร้อนและการป้องกันกำจัด. เอกสารเผยแพร่วิชาการหลักสูตร “หมอพืช-ไม้ผล” ฉบับที่ 1 โครงการเพื่อบรรเทาผลกระทบทางสังคม เนื่องจากวิกฤตทางเศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นิพนธ์ วิสารทานนท์. 2542. โรคทุเรียน. เอกสารเผยแพร่วิชาการหลักสูตร “หมอพืช-ไม้ผล” ฉบับที่ 4 โครงการเพื่อบรรเทาผลกระทบทางสังคม เนื่องจากวิกฤตทางเศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ศุภลักษณ์ กลับน่วม อัญชลี พัดมีเทศ. มปป. โรคทุเรียน. แผ่นพับเผยแพร่ที่ 172 กรมส่งเสริมการเกษตร
สุชาติ วิจิตรานนท์. 2547. โรคทุเรียนและการป้องกันกำจัด. เอกสารวิชาการทุเรียน กรมวิชาการเกษตร กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดตราด. 2557. ข่าวพยากรณ์และเตือนภัยการระบาดศัตรูพืช สำนักงาน เกษตรจังหวัดตราด “ลดต้นทุน และปลอดภัย หากเกษตรกรใช้การศัตรูพืชแบบผสมผสาน” ประจำเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2557 (ฉบับที่ 3/2). กรมส่งเสริมการเกษตร
สนใจข้อมูล/ความรู้ ด้านการเกษตรสามารถเข้าไปดูได้ที่
![]() |
goo.gl/oezFiy หรือ พิมพ์ @sotus |
![]() |
www.facebook.com/sotus.int/ |
![]() |
https://www.youtube.com/channel/UCr0T_masJxA8_h5Y9xM5vdw |