โรคเมลาโนส เกิดจากเชื้อรา Diaporthe citri  และโรคใบเปื้อนน้ำหมาก หรือโรคกรีสซีเมลาโนส มีเชื้อสาเหตุมาจาก เชื้อรา Phomopsis citri และ Cercospora citri  โรคเมลาโนส และโรคใบเปื้อนน้ำหมากนี้เข้าทำลายส้มได้ตลอดทั้งปี แต่ระบาดรุนแรงตั้งแต่ปลายฤดูฝน ตั้งแต่เดือนกันยายน-กุมภาพันธ์  และโรคนี้มีการแพร่ระบาดโดยสปอร์ซึ่งเชื้อราสร้างขึ้นปลิวไปกับลม ติดไปกับน้ำหรือน้ำฝนหรือติดไปกับกิ่งพันธุ์

  • โรคนี้เข้าทำลายต้นส้มตลอดทั้งปี แต่มักมีการระบาดรุนแรงตั้งแต่ปลายฤดูฝน คือ เดือนกันยายน-กุมภาพันธ์

  • โรคสามารถทำลายส้มตั้งแต่ระยะใบเริ่มคลี่ จนถึงระยะใบเพสลาด และอาการชัดเจนเมื่อใบเจริญเติบโตเต็มที่

  • มักพบโรคนี้มากในแปลงปลูกที่ขาดการดูแลรักษา ขาดการป้องกันกำจัดโรคอย่างไม่มีประสิทธิภาพ

  • โรคนี้จะระบาดรุนแรงมากขึ้น หากต้นส้มแสดงอาการขาดธาตุรอง เช่น แมกนีเซียม และสังกะสี

  • อาการบนใบ เริ่มแรกเป็นแผลจุดขนาดเล็กเท่าหัวเข็มหมุด สีน้ำตาลอ่อน ต่อมาจะขยายใหญ่ขึ้นเป็นตุ่มเม็ดเล็กๆ สีน้ำตาลดำล้อมรอบด้วยวงสีเหลือง มักเกิดทางด้านใต้ใบเรียงกันหรือกระจายทั่วๆ ไป เมื่อใบมีอายุมากขึ้นจุดที่เกิดเหล่านี้จะนูนขึ้น เมื่อสัมผัสดูจะสากมือคล้ายกระดาษทราย ในระยะนี้จุดแผลจะมีรูปร่างต่างๆ กันไป ขนาดประมาณ 0.5 - 1 มม. สีน้ำตาลดำ  และมักไม่มีวงสีเหลืองล้อมรอบ แผลจะปรากฏทั้งสองด้านของใบ  ส้มที่เป็นโรคนี้รุนแรงใบจะเหลืองหรืออาจบิดเบี้ยวและร่วงหล่นก่อนกำหนด

  • อาการบนกิ่ง แผลเริ่มแรกจะคล้ายกับแผลบนใบ แต่เมื่อเป็นโรคมากขึ้น แผลจะแตกสะเก็ดนูน และมักมีอาการกิ่งแห้งตายในที่สุด ส่วนบนผลจะมีลักษณะแผลเหมือนที่เกิดบนใบเช่นเดียวกันคือ ระยะแรกแผลเป็นจุดขนาดเล็กสีน้ำตาลอ่อน ต่อมาแผลจะนูนเด่นชัดขึ้น สีน้ำตาลดำสากมือคล้ายกระดาษทราย และแผลเกิดรูปร่างต่างๆ กัน เช่น รอยแผลอาจเป็นสีน้ำตาลเป็นทางยาวจากขั้วผลลงมาประมาณกลางผล รอยแผลดังกล่าวเรียกว่า รอยเปื้อนน้ำหมากหรือแผลน้ำหมาก (tear-stain) ทั้งนี้เนื่องมาจากน้ำค้างหรือน้ำฝนไหลลงมาพาเอาเชื้อสาเหตุลงมาเป็นทาง ผลที่ถูกทำลายมักมีขนาดเล็ก ผิวกร้านและมักร่วงก่อนสุก

  1. ตัดแต่งกิ่งกระโดง หรือกิ่งภายในทรงพุ่มออกเพื่อให้ภายในทรงพุ่มต้นส้มมีการระบายอากาศที่ดี

  2. บำรุงต้นส้มให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ

  3. หากพบโรคเริ่มระบาด ควรเก็บใบส้มที่เป็นโรคทำลาย ตัดแต่งกิ่งแห้งออกให้หมดเพื่อลดปริมาณของโรค และป้องกันการแพร่ระบาด

  4. ใช้สารเคมีกำจัดเชื้อราพ่นเป็นครั้งคราว เช่น คาร์เบนดาซิม 50% WP / 50%SC (เบ็นตัส / เบ็นตัส เอสซี) อัตรา 200-300 กรัม/ซีซี ร่วมกับ แมนโคเซบ 80% WP (ไดเทน เอ็นที เอ็ม-45) อัตรา 500 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร หรือ ฟลูไตรอะฟอล 12.5 % SC (จอยท์) อัตรา 300 ซีซีต่อน้ำ 200 ลิตร พ่นทุกๆ 7-10 วัน อย่างน้อย 3-4 ครั้ง ในช่วงระยะเวลาที่พบการระบาดของโรค

ขอขอบคุณ

รศ.ดร.อำไพวรรณ ภราดร์นุวัฒน์ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


สนใจข้อมูล/ความรู้ ด้านการเกษตรสามารถเข้าไปดูได้ที่

 goo.gl/oezFiy หรือ พิมพ์ @sotus

 www.facebook.com/sotus.int/

 https://www.youtube.com/channel/UCr0T_masJxA8_h5Y9xM5vdw