การผลิตไม้ผลนอกฤดูมักพบปัญหาเรื่อง การแตก (ลัด) ใบอ่อน ในระยะสะสมอาหารหรือช่วงที่มีการออกดอก ติดผล ทำให้ดอกและผลที่ได้ไม่สมบูรณ์ และหลุดร่วงไป เช่น ในระยะที่ผลทุเรียนกำลังเจริญเติบโต หากมีการแตกใบอ่อน จะทำให้เกิดการแข่งขันกันระหว่างผลอ่อนและใบอ่อน ซึ่งใบอ่อนมีความสามารถในการดึงอาหารสะสมไปใช้ในการเจริญเติบโตได้ดีกว่าผล ถ้าเกิดการแตกใบอ่อนในระยะ 3-5 สัปดาห์หลังดอกบาน จะทำให้ผลอ่อนร่วง และถ้าแตกใบอ่อนในระยะ 5-8 สัปดาห์หลังดอกบาน ซึ่งเป็นช่วงที่ผลทุเรียนต้องการอาหารปริมาณมากไปใช้ เพื่อขยายขนาดและขึ้นพูอย่างรวดเร็ว จะทำให้ผลทุเรียนมีรูปทรงบิดเบี้ยว เป็นต้น

        การแตกใบอ่อนอาจเกิดจากการสะสมอาหารภายในต้นที่ไม่เพียงพอขณะที่ทำการชักนำดอก หรือในสภาวะแวดล้อมที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น มีฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน เป็นต้น การแตกใบอ่อนในช่วงติดดอก ออกผล จึงเป็นปัญหาสำคัญที่เกษตรกรต้องป้องกันและแก้ไข

ปัญหาการแตกใบอ่อนแก้ได้ด้วย…นูแทค เอ็กตร้า-พี

นูแทค เอ็กตร้า-พี (0-40-22) ปุ๋ยทางใบ สูตรสเปรย์-ดราย ที่มีฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมสูง พัฒนาโดยทีมวิจัยของบริษัท โซตัสฯ เพื่อนำไปช่วยแก้ปัญหาการแตกใบอ่อนในไม้ผล  (การใช้ปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมสูงเป็นอีกวิธีที่ใช้ในการแก้ปัญหาเรื่องการแตกใบอ่อนในไม้ผลได้) โดยเฉพาะช่วงที่มีฝนตก การพ่น นูแทค เอ็กตร้า-พี จะช่วยลดปัญหาการแตกใบอ่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งทางทีมงานฝ่ายวิชาการได้มีการนำไปทดสอบในแปลงลำไยและทุเรียนของเกษตรกรที่จังหวัดจันทบุรี ได้ผลดังนี้

นูแทค เอ็กตร้า-พี ลดปัญหาการแตกใบอ่อนและเพิ่มคุณภาพช่อดอกในลำไย ทำการพ่น นูแทค เอ็กตร้า-พี อัตรา 25 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร เปรียบเทียบกับการพ่น 0-52-34 อัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร จำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน โดยครั้งแรกเริ่มพ่นหลังราดสารโพแทสเซียมคลอเรต 1 สัปดาห์ พบว่า ต้นลำไยที่พ่นด้วย นูแทค เอ็กตร้า-พี มีช่อดอกที่ได้คุณภาพ (ไม่มีใบปนช่อดอก) 82% ซึ่งมากกว่าการพ่นปุ๋ย 0-52-34 ที่มีช่อดอกที่ได้คุณภาพ เพียง 43%  และการพ่นนูแทค เอ็กตร้า-พี ทำให้ต้นลำไยมีช่อดอกที่สมบูรณ์ จำนวนดอกหนาแน่นทำให้มีโอกาสติดผลได้เพิ่มขึ้น

       การพ่นปุ๋ย 0-52-34 มีเปอร์เซ็นต์การออกดอกน้อยและช่อดอกมีใบปน (ภาพซ้าย) เปรียบเทียบกับการพ่นปุ๋ย นูแทค เอ็กตร้า-พี มีเปอร์เซ็นต์การออกดอกมาก และมีลักษณะช่อดอกที่สมบูรณ์ แข็งแรง ทำให้มีโอกาสติดผลได้มากกว่า (ภาพขวา)และจากการทดสอบครั้งนี้ พบว่า ต้นลำไยที่พ่นปุ๋ย 0-52-34 มีบางช่อดอกที่เสียหายคือยอดแห้งและหลุดร่วงไป เปรียบเทียบกับต้นลำไยที่พ่นนูแทค เอ็กตร้า-พี ช่อดอกมีลักษณะปกติ ไม่พบอาการยอดแห้ง

นูแทค เอ็กตร้า-พี ลดปัญหาการแตกใบอ่อนและเพิ่มคุณภาพช่อดอกในทุเรียน

         จากการทดสอบในทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ด้วยการพ่น นูแทค เอ็กตร้า-พี อัตรา  50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ครั้งแรกหลังต้นทุเรียนทำสารกระตุ้นการออกดอก  1 สัปดาห์ พ่นทั้งหมดจำนวน 6 ครั้ง ห่างกันทุก 10 วัน เปรียบเทียบกับการพ่นปุ๋ย 0-52-34 อัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร และการพ่นตามกรรมวิธีของเกษตรกร พบว่า หลังกระตุ้นการออกดอก  45 วัน ต้นทุเรียนที่พ่นปุ๋ยนูแทค® เอ็กตร้า-พี มีการแตกใบอ่อนเพียง 22% ซึ่งน้อยกว่าการพ่นปุ๋ย 0-52-34 และกรรมวิธีเกษตรกรที่มีการแตกใบอ่อน 49% และ 53% ตามลำดับ

          หลังจากที่มีการพ่นปุ๋ยเพื่อลดการแตกใบอ่อนในทุเรียน พบว่า กรรมวิธีของเกษตรกร และการพ่นปุ๋ย 0-52-34 อัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ยังพบการแตกใบอ่อน ซึ่งใบอ่อนชุดนี้จะมีการดึงอาหารภายในต้นไปใช้ในการเจริญเติบโตทำให้อาหารภายในต้นไม่เพียงพอ ส่งผลให้มีการออกดอกน้อย หรือดอกที่ออกมาก่อนแล้วหลุดร่วงไป  ในขณะที่การพ่นปุ๋ย นูแทค เอ็กตร้า-พี (0-40-22) อัตรา 50 กรัมต่อต้น สามารถกดใบอ่อนได้ดี ทำให้ใบมีขนาดเล็ก และส่งผลให้ใบแก่ได้เร็ว ซึ่งจะทำให้ใบอ่อนชุดนี้มีเปลี่ยนจากใบที่ใช้อาหารเพื่อนการเจริญเติบโต ไปดป็นแหล่งสร้างอาหารให้กับต้นแทน ส่งผลให้ต้นทุเรียนมีอาหารไปเลี้ยงภายในต้นอย่างเพียงพอสำหรับการออกดอก จึงทำให้ดอกมีปริมาณมากและการหลุดร่วงน้อยลง

          จากการทดสอบที่ได้แสดงให้เห้นแล้วนั้น จึงสรุปได้ว่า นูแทค เอ็กตร้า-พี มีประสิทธิภาพสูงในการลดปัญหาการแตกใบอ่อน โดยเฉพาะในช่วงที่ฝนตกชุก และส่งเสริมการออกดอกได้ดีทั้งในลำไยและทุเรียน ในลำไยแนะนำให้พ่นนูแทค เอ็กตร้า-พี อัตรา 25 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร และในทุเรียนแนะนำให้พ่นนูแทค® เอ็กตร้า-พี อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร