เพลี้ยไฟ  แมลงชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันดีในวงการผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ โดยเรียกกันว่า  “ตัวกันสี ”  เพลี้ยไฟ เป็นแมลงปากดูดที่มีขนาดเล็กมาก มีความยาวประมาณ ½ - 2 มิลลิเมตร รูปร่างเรียวยาว ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีลักษณะคล้ายกัน แต่ตัวอ่อนไม่มีปีก ตัวอ่อนมีสีเหลืองอ่อน หรือ สีน้ำตาลอ่อน หรือสีดำ ตัวแก่มีปีกซึ่งมีลักษณะแคบยาว มักพบเพลี้ยไฟเข้าทำลายกล้วยไม้ในฤดูร้อนและฤดูฝน ตัวเต็มวัยจะวางไข่ในเนื้อเยื่อของกลีบกล้วยไม้ ระยะไข่ใช้เวลาประมาณ 2-6 วัน ปกติทั่วไปมักจะพบเห็นตัวอ่อนเกาะบนกลีบดอกหรือซอกกลีบดอกกล้วยไม้ เพลี้ยไฟมีการเคลื่อนไหวรวดเร็วมาก ถ้าไม่สังเกตจะมองไม่เห็นตัว เพลี้ยไฟเป็นแมลงที่ดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนที่อ่อนๆ เช่น ตามยอด ตา และดอก ทำความเสียหายมากแก่กล้วยไม้ในระยะที่ดอกตูมและดอกกำลังบาน โดยการดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ดอกตูมชะงักการเจริญเติบโต ดอกอ่อนหรือดอกตูมเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแห้งคาก้านช่อดอก ส่วนอาการที่ดอกบานถูกทำลายคือ เริ่มแรกจะเห็นเป็นรอยแผลสีซีดขาวที่ปากหรือกระเป๋า และตำแหน่งของกลีบดอกที่ซ้อนกัน ต่อมาแผลจะกลายเป็นสีน้ำตาล อาจเรียกว่าอาการ “ดอกไหม้หรือปากไหม้” ดอกเหี่ยวแห้งง่าย

 

  1. ควรฉีดพ่นด้วยสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดเพลี้ยไฟ เช่น คาร์โบซัลแฟน หรือ พอสซ์ (อัตรา 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร) หรือ ไวเดทแอล (อัตรา 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร) หรือ ซีเอฟ 35 แอส ที (อัตรา 10–15 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร) โดยฉีดพ่นในช่วงเช้า ระหว่าง 8.00-10.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พบเพลี้ยไฟมาก หากอากาศร้อนจัดอาจเลือกพ่นสารเคมีในเวลาเย็น

  2. ถ้าพบการระบาดมากควรฉีดพ่นสารเคมี 4-5 วันต่อครั้ง และฉีดติดต่อกัน 2-3 ครั้ง หรือจนกว่าการระบาดจะลดลง

 

เอกสารประกอบการเรียบเรียง
กุลฉวี กำจายภัย. 2526. โรคและแมลงศัตรูกล้วยไม้. หจก. ฟันนี่พับบลิชชิ่ง. 114 หน้า.
ธีระ สูตะบุตร. 2517. โรคของกล้วยไม้. วิทยาสารกล้วยไม้บางเขน. 375 หน้า.
พิสมัย ชวลิตวงษ์พร. 2538 . แมลงศัตรูไม้ดอกไม้ประดับของประเทศไทย.
อนงค์ จันทร์ศรีกุล. 2524. โรคและศัตรูไม้ประดับ. บริษัท สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด. 163 หน้า.
อำไพวรรณ ภราดร์นุวัฒน์. 2526. โรคของไม้ดอกไม้ประดับ. ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 126 หน้า.
อำไพวรรณ ภราดร์นุวัฒน์. 2540. โรคของกล้วยไม้.  ใน  สมศักดิ์ รักไพบูลย์สมบัติ. ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้
จากประสบการณ์. สมาคมพฤกษชาติแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. 414 หน้า.

สนใจข้อมูล/ความรู้ ด้านการเกษตรสามารถเข้าไปดูได้ที่

 goo.gl/oezFiy หรือ พิมพ์ @sotus

 www.facebook.com/sotus.int/

 https://www.youtube.com/channel/UCr0T_masJxA8_h5Y9xM5vdw