โรคนี้เกิดได้ทั้งที่ใบและกิ่ง อาการบนใบจะเห็นเป็นจุดหรือดวงสีเทาอ่อนปนเขียว จุดนูนขึ้นจากผิวใบเล็กน้อย ขอบของจุดมีลักษณะเป็นแฉก ไม่เรียบ จุดหรือดวงเหล่านี้จะขยายใหญ่ขึ้นเมื่อมีความชื้นสูงและได้รับแสงแดด เมื่อสาหร่ายมีอายุมากขึ้นแผลจะเปลี่ยนเป็นสีแดงคล้ายสีสนิมเหล็ก ลักษณะคล้ายกำมะหยี่  ซึ่งเป็นระยะที่สาหร่ายสร้างอวัยวะสืบพันธุ์เพื่อแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของต้นพืช จุดสนิมมักเกิดกระจัดกระจายบนใบ ทำให้พืชสังเคราะห์แสงลดลง และสาหร่ายจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบพืช ทำให้ใบซีดเหลือง และร่วงในที่สุด ส่วนอาการที่กิ่งจะเป็นแผลลักษณะคล้ายขนนกกำมะหยี่สีแดง หรือสีน้ำตาลแดงขึ้นเป็นหย่อมๆ สาหร่ายจะเข้าทำลายกิ่งเล็ก และเจริญปกคลุมผิวกิ่ง ต่อมากิ่งจะแตกและพบสาหร่ายเจริญแน่นหนาที่ผิวเนื้อเยื่อกิ่งแตก

       สาหร่ายสาเหตุของโรคจะแพร่ระบาดไปกับลมและพายุฝน  มักเข้าทำลายในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูงและฝนตกชุก  นอกจากสปอร์ของสาหร่ายจะทำลายใบแล้ว ยังพบการระบาดไปยังส่วนอื่นๆ ของลำต้นได้อีกด้วย นอกจากต้นทุเรียนแล้วยังพบการเกิดโรคและระบาดในไม้ผลชนิดอื่นๆ เช่น มังคุด เงาะ ลองกอง โดยเฉพาะในสวนที่ต้นมีทรงพุ่มแน่นทึบ

  1. การตัดแต่งกิ่งทุเรียนหลังเก็บเกี่ยว จะช่วยให้ภายในทรงพุ่มต้นทุเรียนมีการถ่ายเทอากาศและความชื้นที่ดี แสงแดดส่องถึงทั่วต้น จะป้องกันและลดการระบาดของเชื้อรา

  2. ตัดกิ่งที่เป็นโรคออก แล้วนำออกจากแปลงไปเผาทำลายนอกสวน เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรค

  3. พ่นสารเคมี เช่น หรือ คอปเปอร์ ไฮดรอกไซด์ 77% WP (ฟังกูราน-โอเอช) อัตรา 200-300 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร หรือ คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 85% WP (โคบ๊อกซ์) อัตรา 300-400 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร ทุกๆ 5-7 วัน จนกว่าโรคจะหยุดระบาด

 

เอกสารอ้างอิง
นิพนธ์ วิสารทานนท์. 2542. โรคไม้ผลเขตร้อนและการป้องกันกำจัด. เอกสารเผยแพร่วิชาการหลักสูตร “หมอพืช-ไม้ผล” ฉบับที่ 1 โครงการเพื่อบรรเทาผลกระทบทางสังคม เนื่องจากวิกฤตทางเศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นิพนธ์ วิสารทานนท์. 2542. โรคทุเรียน. เอกสารเผยแพร่วิชาการหลักสูตร “หมอพืช-ไม้ผล” ฉบับที่ 4 โครงการเพื่อบรรเทาผลกระทบทางสังคม เนื่องจากวิกฤตทางเศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ศุภลักษณ์ กลับน่วม อัญชลี พัดมีเทศ. มปป. โรคทุเรียน. แผ่นพับเผยแพร่ที่ 172 กรมส่งเสริมการเกษตร
สุชาติ วิจิตรานนท์. 2547. โรคทุเรียนและการป้องกันกำจัด. เอกสารวิชาการทุเรียน กรมวิชาการเกษตร กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดตราด. 2557. ข่าวพยากรณ์และเตือนภัยการระบาดศัตรูพืช สำนักงาน         เกษตรจังหวัดตราด “ลดต้นทุน และปลอดภัย หากเกษตรกรใช้การศัตรูพืชแบบผสมผสาน” ประจำเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2557 (ฉบับที่ 3/2). กรมส่งเสริมการเกษตร

สนใจข้อมูล/ความรู้ ด้านการเกษตรสามารถเข้าไปดูได้ที่

 goo.gl/oezFiy หรือ พิมพ์ @sotus

 www.facebook.com/sotus.int/

 https://www.youtube.com/channel/UCr0T_masJxA8_h5Y9xM5vdw