มะละกอเป็นไม้ผลที่ตลาดมีความต้องการสูง และมีตลาดรองรับค่อนข้างกว้าง สามารถขายได้ทั้งแบบผลดิบและผลสุก อีกทั้งมะละกอยังเป็นพืชที่ให้ผลตอบแทนเร็ว มะละกอดิบใช้เวลาเพียง 4-5 เดือน ส่วนมะละกอสุกใช้เวลาเพียง 8 เดือน ก็สามารถตัดขายได้  ตลาดมะละกอในประเทศไทยเป็นตลาดที่ใหญ่มาก โดยเฉพาะตลาดมะละกอสุก  ในหลายปีที่ผ่านมาราคามะละกออยู่ในเกณฑ์ดี  โดยเฉพาะช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ราคาขายส่งในตลาดกลางสี่มุมเมือง มะละกอเกรด A ราคาเฉลี่ยสูงสุด อยู่ที่กิโลกรัมละ 45 บาท  และในปี 2562 ราคามะละกอก็ยังคงเป็นที่น่าพอใจแก่เกษตกร

            คุณนิวัติ บำรุงวงษ์  เกษตรกรมือใหม่หัดปลูก "มะละกอ" ที่สามารถสร้างผลผลิตได้ดีเหมือนกับมืออาชีพ  พี่นิวัติได้เล่าให้ฟังว่า ก่อนที่จะมาปลูกมะละกอได้ปลูกกล้วยหอมมาก่อน  แต่ในปี 2560 ประสบปัญหาราคากล้วยหอมตกต่ำ ทำให้เริ่มคิดที่จะเปลี่ยนพืชปลูก  จึงได้ไปเดินสำรวจตลาดผลไม้ของจังหวัดระยอง ว่าผลไม้ชนิดไหนที่ยังขาดตลาด และยังเป็นที่ต้องการของผู้ซื้อ  มีการขนส่งสะดวก และพบว่ามะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์เป็นที่นิยม และไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ซื้อ  อีกทั้งมะละกอยังใช้เวลาปลูกไม่นานก็สามารถให้ผลผลิตได้  จึงตัดสินใจเลือกปลูกมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์

            สำหรับพี่นิวัตินั้นมะละกอถือเป็นพืชใหม่ที่ไม่มีความรู้เลย อาศัยการศึกษาหาข้อมูลตามสื่อต่างๆ ควบคู่ไปกับคู่มือการผลิตมะละกอคุณภาพของทางบริษัท โซตัสฯ ที่ได้มาจากร้านค้าเคมีเกษตร เมื่อมีข้อมูลเพียงพอจึงเริ่มหาเมล็ดพันธุ์มะละกอสำหรับนำมาปลูก

พี่นิวัติเริ่มจากวิธีง่ายๆ คือไปซื้อมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์มาจากสวนที่ จ.จันทบุรี ในราคากิโลกรัมละ 20 บาท เพื่อมาทำเป็นพันธุ์ปลูก โดยนำมะละกอมาแกะเมล็ด บีบให้เยื่อที่หุ้มเมล็ดหลุดออก นำไปผึ่งให้หมาดแล้วนำเมล็ดไปแช่น้ำ หลังจากนั้นนำผ้ามาห่อเมล็ดทิ้งไว้จนเมล็ดงอก และนำเมล็ดไปเพาะในถุงดำจนได้ต้นกล้ามะละกอ  ระหว่างรอต้นกล้าก็เริ่มเตรียมแปลงปลูก สวนมะละกอของพี่นิวัติปลูกแบบยกร่องเพื่อให้การระบายน้ำดีในช่วงหน้าฝน ระยะปลูก คือ 3 x 3 เมตร ให้น้ำแบบสปริงเกอร์ ให้วันละ 1 ครั้ง ในช่วงเช้า เป็นเวลา 20 นาที

             ก่อนที่พี่นิวัติจะนำกล้ามะละกอลงปลูกในแปลง จะรองก้นหลุมด้วย   สตาร์เกิล จี  อัตรา 2 กรัมต่อหลุมปลูก  หลังจากนั้นในทุกๆ เดือน ก็จะโรยรอบโคนต้น อัตรา 10 กรัมต่อต้น เพื่อป้องกันกำจัดแมลงปากดูดที่เป็นพาหะของโรคไวรัสต่างๆ เช่น เพลี้ยอ่อน รวมถึงแมลงใต้ดิน เช่น มด ปลวก

            สำหรับการดูแลมะละกอในระยะต่างๆ พี่นิวัติอาศัยจากการศึกษาข้อมูลตามสื่อโซเชียลต่างๆ แล้วนำมาปรับใช้กับสวนของตนเอง  ในช่วงระยะเริ่มเจริญเติบโต  พี่นิวัติใส่ปุ๋ยทางดินสูตร 15-0-0 และ 15-15-15 ทุก 5-7 วัน จำนวน 2 ครั้ง และพ่นปุ๋ยทางใบ นูแทค ซุปเปอร์-เอ็น เพื่อช่วยให้ต้นสมบูรณ์แข็งแรง   เมื่อมะละกอเข้าสู่ระยะติดดอก  ใส่ปุ๋ยทางดินสูตร 8-24-0 และ 21-7-14 ทุก 15 วัน จำนวน 4 ครั้ง และพ่น โฟแมกซ์ แคลเซียมโบรอน 400 ร่วมกับ เกอมาร์ พลัส เพื่อให้มะละกอออกดอก ติดผลได้อย่างสมบูรณ์

 

            เมื่อมะละกอเริ่มออกดอก (อายุได้ประมาณ 90-110 วัน) ก็จะทำการคัดต้นมะละกอ โดยจะตัดต้นที่เป็นตัวผู้ และตัวเมียทิ้ง ให้เหลือแต่ต้นสมบูรณ์เพศหรือต้นกระเทยไว้  แต่ในบางครั้งช่วงที่อากาศร้อนจัด หรือให้น้ำไม่เพียงพอ เพศดอกสามารถเพี้ยนได้ จากดอกกระเทยสามารถกลายเป็นดอกตัวเมียได้ ซึ่งผลของตัวเมียนั้นไม่เป็นที่ต้องการของตลาด เพราะจะได้ผลทรงกลม เนื้อบาง มีช่องว่างในผลมาก

ลักษณะเพศดอกของมะละกอ : ต้นมะละกอจะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ตามเพศของดอกมะละกอ

ต้นตัวผู้ : ดอกเป็นช่อมีขนาดเล็ก ก้านช่อดอกยาว เกสรตัวเมียที่อยู่ในดอกจะมีขนาดเล็กจนไม่สามารถเจริญเติบโตได้ และจะไม่ติดผลเลย

ต้นตัวเมีย : ดอกมีขนาดใหญ่ ทรงป้อม กลีบดอกทั้ง 5 กลีบ จะแยกจากกัน ภายในมีรังไข่ อ้วนสั้น สีขาว ส่วนปลายรังไข่เป็นแฉกสีเหลืองอมเขียว แต่ละแฉกมีปลายเป็นฝอย ผลจะเป็นทรงกลม ปลายแหลม ข้างในผลกลวง เนื้อบาง

ต้นสมบูรณ์เพศหรือต้นกะเทย : ช่อดอกแตกแขนงสั้น ดอกเป็นทรงกระบอก มีกลีบหุ้มอยู่ 5 กลีบ ภายในมีรังไข่ยาวทรงกระบอก  ให้ผลตรงตามพันธุ์

            การจัดการและการดูแลสวนของพี่นิวัติ มาจากการเอาใจใส่ เข้าสวนทุกวันเพื่อตรวจดูแปลง ถ้าเจอสิ่งผิดปกติจะรีบหาสาเหตุ และจัดการปัญหานั้นๆ ทันที  เช่น เมื่อพบแมลงศัตรูพืชในสวนมะละกอ ได้แก่ เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย และไรแดง  ก็ต้องรีบจัดการเพื่อไม่ให้เกิดการระบาดในแปลง

            ใช้เวลาเพียง 8 เดือน พี่นิวัติก็สามารถเก็บผลผลิตมะละกอฮอนแลนด์ขายได้แล้ว  โดยมีแม่ค้ามารับซื้อถึงสวน  ขายส่งแบบคละขนาด กิโลกรัมละ 18 บาท ซึ่งราคานี้ถือว่าเป็นราคาที่น่าพอใจสำหรับพี่นิวัติ  ถึงแม้ว่าพี่นิวัติจะเป็นมือใหม่ในการปลูกมะละกอ แต่ด้วยความใส่ใจ หมั่นศึกษาหาความรู้อยู่เรื่อยๆ ทำให้สวนมะละกอของพี่นิวัติได้ผลผลิตดี มีคุณภาพ  ไม่ด้อยไปกว่ามืออาชีพเลยทีเดียว

            สุดท้ายนี้พี่นิวัติฝากเอาไว้ว่า เราจะทำอะไรควรมี “ความใส่ใจ” หมั่นสำรวจ ตรวจดู เราก็จะสามารถแก้ไขได้อย่างทันถ่วงที ก่อนที่จะเกิดความเสียหาย

ขอขอบคุณ :  คุณนิวัติ บำรุงวงศ์  เจ้าของสวนมะละกอ    ต.กะเฉด อ.เมือง จ.ระยอง

 


สนใจข้อมูล/ความรู้ ด้านการเกษตรสามารถเข้าไปดูได้ที่

 goo.gl/oezFiy หรือ พิมพ์ @sotus

 www.facebook.com/sotus.int/

 https://www.youtube.com/channel/UCr0T_masJxA8_h5Y9xM5vdw