ศูนย์เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้ทดสอบการใช้ รีเทน (สารอะมิโนเอททอกซีไวนิลไกลซีน : AVG) เพื่อยับยั้งกิจกรรมของเอ็นไซม์ ACC (1-aminocyclopropane-1-carboxylic acid) synthase ในการเปลี่ยน S-adenosylmethionine (SAM) เป็น ACC ในกระบวนการสังเคราะห์เอทิลีน เพื่อชะลอการสุกและผลแตกของทุเรียนพันธุ์หมอนทองระหว่างการเก็บรักษาในสภาพจำลองการขนส่งทางเรือ เป็นเวลา 10 วัน ที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส

          ผลการทดสอบพบว่า  รีเทน ชุบผลทุเรียนพันธุ์หมอนทองที่ระดับความแก่ 80%  ร่วมกับการป้ายขั้วผลด้วยสารเอทีฟอน 26%  จำนวน 2 ครั้ง เป็นวิธีการที่จะช่วยเก็บรักษาผลทุเรียนระหว่างการขนส่งทางเรือที่ 15 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 วันได้ และเมื่อนำออกไปวางบนชั้นที่ 25 องศาเซลเซียส ทุเรียนจะเริ่มสุกในวันที่ 3  และผลเริ่มแตกเมื่อผ่านไป 6 วัน โดยเนื้อของทุเรียนยังมีคุณภาพดี ไม่เละ รสชาติไม่เปลี่ยน

       จากภาพแสดงลักษณะของผลทุเรียนหมอนทองที่ชุบผลด้วยวิธีการต่างๆ แล้วเก็บรักษาในสภาพจำลองการขนส่งทางเรือที่ 15 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 วัน แล้วจึงย้ายออก และทดสอบการวางจำหน่ายที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 6 วัน

  1. วิธีทางการค้า ของโรงคัดบรรจุโดยชุบผลและป้ายขั้วด้วยด้วยเอทีฟอน

  2. สุกธรรมชาติ ไม่ใช้สารเอทีฟอนและรีเทน

  3. ป้ายขั้วด้วยสารเอทีฟอนเข้มข้น 26% จำนวน 2 ครั้ง

  4. ชุบสารป้องกันกำจัดเชื้อราที่ผสมรวมกับ รีเทน อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 60 ลิตร และป้ายขั้วด้วยสารเอทีฟอน เข้มข้น 26% จำนวน 2 ครั้ง

  5. ชุบสารป้องกันกำจัดเชื้อราที่ผสมรวมกับ รีเทน อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 60 ลิตร และป้ายขั้วด้วยสารเอทีฟอน เข้มข้น 26% จำนวน 2 ครั้ง

  6. ชุบสารป้องกันกำจัดเชื้อราที่ผสมรวมกับ รีเทน อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 60 ลิตร และป้ายขั้วด้วยสารเอทีฟอน เข้มข้น 26% จำนวน 2 ครั้ง

  7. ชุบสารป้องกันกำจัดเชื้อราที่ผสมรวมกับ รีเทน อัตรา 80 กรัมต่อน้ำ 60 ลิตร และป้ายขั้วด้วยสารเอทีฟอน เข้มข้น 26% จำนวน 2 ครั้ง

 


สนใจข้อมูล/ความรู้ ด้านการเกษตรสามารถเข้าไปดูได้ที่

 goo.gl/oezFiy หรือ พิมพ์ @sotus

 www.facebook.com/sotus.int/

 https://www.youtube.com/channel/UCr0T_masJxA8_h5Y9xM5vdw