เชื้อสาเหตุคือ เชื้อราลาสิโอดิพโพลเดีย (Lasiodiplodia)    พบอาการกิ่งแห้งและผุ ซึ่งต่างไปจากอาการโรคกิ่งแห้งที่เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรียม โดยเชื้อราสาเหตุตัวนี้มักจะสร้างโครงสร้างที่ให้กำเนิดสปอร์เป็นจุดนูน เรียกว่าพิคนิเดียม (pycnidium) มีสีดำ โผล่ขึ้นมาจากเปลือกไม้ เมื่อผ่าเนื้อไม้ออกมาดูแผลข้างในจะเป็นสีน้ำตาลอมส้ม เชื้อราตัวนี้ยังทำให้เกิดโรคผลเน่าหลังการเก็บเกี่ยวได้เช่นกัน

การควบคุมโรค

          ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคออกไปเผาทิ้ง มิฉะนั้นเมื่อสปอร์ถูกปล่อยออกมาจะแพร่กระจายได้โดยอาศัยผีเสื้อที่อาศัยอยู่ในแปลงทุเรียน สำหรับสารเคมีที่ควบคุมเชื้อรานี้ ได้แก่  ไดฟีโนโคนาโซล และ ไพราโคลสโตรบิน

           เชื้อสาเหตุ คือ เชื้อราไรซอคโทเนีย (Rhizoctonia)   อาการเริ่มต้นที่พบบนใบมีลักษณะเป็นจุดฉ่ำน้ำ พัฒนาเป็นแผลที่ขยายวงกว้างขึ้น มีรูปร่างไม่แน่นอน ต่อมาจะพบเซลล์เนื้อเยื่อบริเวณนั้นตายลง  แผลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน ลักษณะเป็นแผลไหม้แห้ง ใบจะติดกันเป็นกระจุก และหลุดร่วงในเวลาต่อมา หากมีความชื้นสัมพัทธ์สูงจะเห็นเส้นใยสีน้ำตาลคล้ายใยแมงมุมเจริญอยู่บนใบได้ ซึ่งเส้นใยจะลุกลามรวดเร็วทำให้เกิดลักษณะเป็นใบติดและหลุดร่วงในที่สุด หากไม่ดำเนินการใดๆ อาจส่งผลให้ความชื้นภายในทรงพุ่มสูงขึ้นได้ เนื่องจากใบที่ติดกันนั้นไปขัดขวางการระเหยของน้ำ ความชื้นที่สูงก็จะส่งผลให้เกิดการเข้าทำลายของเชื้อจุลินทรีย์อื่นๆ ได้

การควบคุมโรค

          ตัดแต่งใบที่เป็นโรคนำไปเผาทิ้ง หากเป็นโรครุนแรง อาจมีความจำเป็นต้องใช้สารเคมี เช่น  คาร์เบนดาซิม  ควินโทซีน  ไดฟีโนโคนาโซล  ไพราโคลสโตรบิน  โพรพิโคนาโซล  อีทริไดอะโซล  อีทริไดอะโซลผสมควินโทซีน และ เฮกซะโคนาโซล

            เชื้อสาเหตุคือ เชื้อราเซฟาลิวโรส ไวเรสเซ็นส์ (Cephaleuros virescens)   พบใบทุเรียนมีจุดสีน้ำตาลหรือน้ำตาลปนส้มหรือเขียวแกมเหลือง กระจายทั่วไปต่อมาแผลขยายตัวพบอาการบริเวณหน้าใบ ส่งผลให้ใบสังเคราะห์แสงได้ไม่ดีเท่าที่ควร โรคนี้แพร่ระบาดได้ดีในแปลงทุเรียนที่มีทรงพุ่มหนาแน่นซึ่งทำให้มีความชื้นสูง

การควบคุมโรค

          ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง และฉีดพ่นสารเคมีคอปเปอร์ไฮดรอกไซด์

           เชื้อสาเหตุคือ เชื้อราฟาเนอโรคีท ซาลโมนิคัลเลอร์ (Phanerochaete salmonicolor)    อาการกิ่งแห้งเนื้อไม้เปื่อยยุ่ย มีเส้นใยของเชื้อรามีสีขาวครีมเจริญปกคลุมบริเวณเปลือกที่หุ้มกิ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นสีขาวปนชมพู

การควบคุมโรค

          ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคออก ส่วนสารเคมีหากจำเป็นต้องใช้ เช่น คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์  ไดฟีโนโคนาโซล และ ไพราโคลสโตรบิน


สนใจข้อมูล/ความรู้ ด้านการเกษตรสามารถเข้าไปดูได้ที่

 goo.gl/oezFiy หรือ พิมพ์ @sotus

 www.facebook.com/sotus.int/

 https://www.youtube.com/channel/UCr0T_masJxA8_h5Y9xM5vdw